วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ (ATMs) เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (onetoo many)
ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
•คือ การที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคา ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทน จำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
•ทำ ให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่าง
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
VS
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์
www.airasia.com
www.thaiairways.com
ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่8
ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุสาหกรรมการท่องเที่ยว
นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้วยังมีธุรกิจอื่นๆดำนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่าง ๆ แก่ นักท่องเที่ยวเช่น การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศุนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่น ๆ
ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ความหมายของธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจที่พักและธุรกิจขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องรับประทานอาหารในระหว่างการท่องเที่ยวหรือการเดินทาง
ในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ห้องอาหารในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า ภัตตาคารได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบา
การจำแนกปะเภทของธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีร้านอาหารและภัตตาคารต่าง ๆ มากมายไว้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการจำแนกประเภทของร้านอาหารอย่างชัดเจน แม้นแต่ในโรงแรมเองก็มีการบริการอาหารหลายประเภทหลายระดับ
ทั้งนี้เราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน
เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่ง
รับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่
เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป
ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรง
ทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก
4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพ
เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่
เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย
5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว
ๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น ดังนั้นการฝึกฝนให้พนักงานบริการอย่างรวดเร็วจึงค่อนข้างจำเป็น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ
มาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ จึงทำให้ต้องลงทุนสูงกว่าภัตตาคารหรือร้านอาหารประเภทอื่นๆเพื่อชื่อเสียงของร้านและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ
เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ พนักงานเน้น
ลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ
อาหารไทย
อาหารไทยถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีตเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่ก็มักต้องการลิ้มรสอาหารไทยแบบดั่งเดิมดูสักครั้ง
อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยอุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงแวดล้อมไปด้วยพืชพรรณธรรมชาตินานาชนิด ภาคเหนือยังมีคนไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่จึงมีความหลากหลายทางวัมนธรรม และยังคงใกล้ชิดธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งผลให้อาหารทางเหนือยังใช้พืชตามป่าเขาและพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารแบบขัยโตก อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวานจะมาจากผัก เช่นการนำผักมาผัดหรือต้มให้นุ่มก่อนรับประทาน เช่นแคปหมูใช้รับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยวก่อนรับประทาน
อาหารไทยภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเล อาชีพของชาวใต้ก็คือชาวประมงอาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา จะมีกลิ่นคาวจัดใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้หลายชนิดที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั่งอยู่บนพื้นที่ที่ราบสูง กักเก็บน้ำได้ไม่ดีจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ โดยทั่วไปคนอีสานชอบอาหารรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว จึงมีการถนอมอาหาร เช่นปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู เป็นต้น
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มนิยมหันไปทำธุรกิจในลักษณะที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือตามที่ วินิจ วีรยางกูรได้สรุปไว้ดังนี้
1) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง
2) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
3) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพสูง
4) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทรับประทานแล้วทิ้งเลย
5) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงอาหารไม่ซับซ้อน
ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1) อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานตั้งแต่8.00-9.00เป็นเป็น2ประเภทคือ
1.1อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
1.2อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ
2) อาหารก่อนกลางวัน คือรับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่9.30-11.30
3) อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4) อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)
ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้

5) อาหารเย็น ( Dinner)เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6) อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion)ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึกShopping and Souvenir Business
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
I. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........
II. กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
III. ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
IV. ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น
ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
ก. เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
ข. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
ค. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
ง. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
จ. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
ฉ. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
ช. เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย
ซ. เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

บทที่9 ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เมื่อกล่าวถึง การท่องเที่ยว มักจะนึกถึงผู้เดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวไปเยี่ยมญาติไปพักผ่อน ซึ่งการมองเฉพาะด้านของนักท่องเที่ยว แต่น่าจะต้องประกอบไปด้วยด้านของผู้ให้บริการที่จะคอยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
ปัจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นไปอย่างรวดเร็วจะเห็นได้ว่าหลายประเทศพยายาม นำทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ ทำให้เดรายได้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆจากากรท่องเที่ยวเริ่มเกิดขึ้นอาทิ เช่น การเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวทำให้ประชาชนไปรวมอยู่กันบริเวณแหล่งท่องเที่ยว มีสิ่งกิอสร้างต่างๆ การใช้ทรัพยากรมีมากเกินกว่าสถานที่แห่งนั้นจะรับได้
ผลกระทบจากท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนักท่องเที่ยวย่อมกระจายไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ มากน้อยแตกต่างกัน รายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวออกมาในรูปแบบของเม็ดเงินเด่นชัด เป็นทียอมรับว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนสถานที่ใดก็ตามจะต้องมีการจ่ายเพื่อเป็นค่าบริการ
ด้านบวก
ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)
ด้านลบ
เราอาจเห็นว่าผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจในงาบวกทั้งสิ้น ซ฿งถ้าเราพิจารณาในแง่ลบแล้วจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
ราคาที่ดินแพงขึ้น
มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
เมื่อมีการพัฒนาการท่องเที่ยวไปยังแหล่งใดก็ตาม ย่อมมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ผลที่ตามมาก็มีทั้งด้านดีและด้านลบ แม้ว่าผลกระทบด้านนี้จะเป็นเรื่องที่ยากเพราะอาจมีลักษณะเป็นนามธรรม
ด้านบวก
เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
ด้านลบ
ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว
ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์
การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
“การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”
(Tourism is a passport to peace)
ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น
การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงาน
ในเมืองหลวง
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
เราไม่สามารถปฏิเสธว่าสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยปัจจัยต่างๆทำให้เกิดขึ้นโดยฌพาะอย่างยิ่งการติดต่อสัมพันธ์กันปัจจุบันโลกกลายเป็นยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างไกล
ด้านบวก
เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
ช่วยเผยแพร่National Identity(............ลักษณ์ประเทศ)
ผลกระทบอื่นๆ
ด้านลบ
คุณค่าของงานศิลปะลดลง
วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น
เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น (Demonstration Effect)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรม(Demonstration Effect)
 คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่งชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขาบางส่วนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา
 ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน

บทที่13 แนวโน้มและรูปแบบทางการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวทั่วโลกยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าในบางภูมิภาคและบางประเทศจะประสบกับปัญหาทางการเมืองและภัยพิบัติจากธรรมชาติ องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO)

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)

ความหมายและแนวคิด
การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีความจำเป็นในการรักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ และสังคม
แนวคิดการพัฒนาที่ดิน มี4 ประการคือ

1.การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี
2.การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
4.การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ


1.เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก
2.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
3.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า
2.เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
3.เพื่อปกป้องผลกระทบต่างๆ

หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี
2.ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย
3.รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ
4.การประสานงานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5.ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6.การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7.ประชุมปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.การพัฒนาบุคลากร
9.จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10.ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
ความหมาย
สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมายถึงการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบไปยังสถานที่ธรรมชาติซึ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
อาจแบ่งตามประเภทของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่
1.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางยบก
2.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล

กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบก
2.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล






บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระหว่างประเทศ



1.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยรัฐ
ก.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับโลกโดยภาครัฐ
องค์กรที่สำคัญได้แก่

1.1 องค์กรการท่องเที่ยวโลก ( word tourism organization: WTO)
องค์การท่องเที่ยวโลก ป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาล โดยจัดตั้งเป็นองค์กรการที่มีชื่อว่า Internation Union of Tourist Organization ในปี 2468
องค์การท่องเที่ยวโลกมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง ดังนี้


1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
2. เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร
3. เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

องค์กรและหน้าที่ขององค์การท่องเที่ยวโลก ได้แก่
1.สมัชชา (General Assembly)
2.คณะมนตรีบริหาร (Executive Council)
3.สำนักงานเลขาธิการ(Secretariat)
4.สำนักงานเลขาธิการภูมิภาค (Regional Secretariat)
5.คณะกรรมการธิการประจำภูมิภาค(Regional Commissions)

ผู้แทนประจำแต่ละภูมิภาคดูแลจะดำเนินการตามแผนงาน ตามวัตถุประสงค์ที่องค์การท่องเที่ยวโลกกำหนดในด้านเทคนิค ด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ตามแนวทาง 6 ประการ คือ

1.การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (Cooperation for Develepment)
2.การให้ความรู้และฝึกอบรม (Education and Training)
3.ด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผน (Environment and Planning)
4.ด้านสถิติและการวิจัยตลาด (Statisties and Market Research)
5.ด้านคุณภาพในการให้บริการทางการท่องเที่ยว(Quality of Tourism Services)
6.การเป็นผู้ประสานงานและการให้ข้อมูล (Quality and Documentation )

การเข้าร่วมเป็นสมาชิก มี 3 ประเภท คือ
1.สมาชิกสามัญ (Full Member)
2.สมาชิกสมทบ (Associate Member)
3.สมาชิกร่วม (Affliate Member)
2.องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Internation Civil Aviation Organization: ICOA)
โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กร คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก โดยยึดหลักการและกลยุทธ์ในการวางแผนและพัฒนาการขนส่งทางอากาศ ดังนี้
ข.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคโดยภาครัฐ
ค.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับอนุภูมิภาคโดยภาครัฐ

1.โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
(Economic Cooperation in the Greater Mekong Sub region - GMS)

2.โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุทวีปบังคลาเทศ-อินเดีย+เมียนมารื+ศรีลังกา+ไทย
(Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation : BIMST-EC)
บทบาทและหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวของ BIMST-EC มีดังนี้

1.ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวภาคนอกจากภูมิภาคเดินทางเข้ามาภูมิภาคมากขึ้น
2.ส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกในอนุทวีป
3.เพิ่มพูนด้านความร่วมมือการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมกับประเทศในกลุ่มสมาชิก
4.ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น พัฒนาตลาดท่องที่ยวรูปแบบ MICE เข้าสู่ภูมิภาค
5.ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

3.โครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา เป็นโครงการความร่วมมือของ 7 ประเทศได้แก่ กัมพูชา จีน เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ไทย และอินเดีย โดยตกลงให้ร่วมมือกันในด้านวัฒนธรรม การศึกษา การสื่อสาร/การคมนาคม และการท่องเที่ยว ในด้านการท่องเที่ยวได้ตกลงที่จะร่วมมือกันตามสาระสำคัญ

4.โครงการพัฒนาเขตเศรษฐีสามฝ่ายอินโดนิเซีย-มาเลเซีย-ไทย (LMT-GT) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และที่ตั้งภูมิศาสตร์ใกล้ชิดกันประกอบ ด้วยประเทศสมาชิก

1.คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน
(Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assoction of Southeast Asian Nations) หรือที่นิยมเรียกกันโดยย่อว่า “สมาคมอาเซียน”
คณะอนุกรมการดำเนินการด้านการท่องเที่ยว

สมาชิกของคณะอนุกรรมการที่ดำเนินการด้านการท่องเที่ยว (SCOT) ประกอบไปด้วยหกหน่วยงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติของประเทศกลุ่มอาเซียน ประกอบด้วย

คณะอนุกรรมการดำเนินการด้านการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์หลัก คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว

คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยว แบ่งงานออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1. กิจกรรมการตลาด เป็นกิจกกรมแสวงหาตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน
(ASEAN Promotion Chapter) มีคณะทำงานด้านตลาดรับผิดชอบดำเนินงานในการโฆษณาเผยแพร่การท่องเที่ยว
2. กิจกรรมการวิจัยและพัฒนา การสำรวจ มีคณะทำงานด้านวิจัยในข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ของสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกประกอบกันจาก 3 มิติได้แก่
-กิจกรรมระดับโลก
-โปรแกรมและการดำเนินงานเบื้องต้นในระดับภูมิภาค
-ภาระงาน

2.สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA)
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ในกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา
3.สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ (International Congress and Convention Association: ICCA)สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ ก่อตั้งในปี ค.ศ.1963 ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม
4.องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว (Tourism Concern)องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ 1989 มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
5.สหพันธ์สมาคมบริษัทนำเที่ยวนานาชาติ (Universal Federation of Travel Agent : UFTAA) สหพันธ์สมาคมบริษัทนำเที่ยวนานาชาติ เป็นสมาคมที่ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1966






บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

สำหรับกฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1.1พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2552
1.2พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
1.3พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
1.4พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเทียว

มีกฎหมายสำคัญจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
2.1พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522,2523และ2542
2.2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ถึง 2548

3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
3.1พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2524
3.2พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535และ2546
3.3พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ2528
3.4พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ 2484 ,2522 ,2525
3.5พระราชบัญญัติแร่พ.ศ 2510,2522และ2534
3.6ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ 2520
3.7พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ 2485
3.8พระราชบัญญัติรักษาคลองรศ.121
3.9พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535 3.10พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ 2535
3.11พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ 2505
3.12พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ2528
3.13พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก ในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128
3.14พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ 2490และ 2528
3.15พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512,2522และ2535
3.16พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชานเมือง พ.ศ 2535
3.17พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2518,2525และ2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาการ พ.ศ2522,2535และ2543

4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเทียว
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 22 ฉบับ ได้แก่
4.1พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ2535
4.2พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ2547
4.3พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ2509,2521,2525,2546
4.4พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ 2535
4.5พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ2528,2537และ 2544
4.6พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ2535
4.7พระราชบัญญัติลิขสิทธิพ.ศ2520,2534,2544
4.8พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพ.ศ 2511 ถึง 2548
4.9พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ2542
4.10พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522 และ 2541
4.11พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ 2494 ถึง 2543
4.12พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ2522 ภึง 2546
4.13พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ 2522 ถึง 2542
4.14พระราชบัญญัติรถยนต์ พศ.2522 ถึง 2527
4.15กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515
4.16พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ 2494 ถึง 2543
4.17พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ 2456 ถึง 2540
4.18ประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ2515
4.19พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ 2481 ถึง 2540
4.20พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ 2522
4.21พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ 2497 ถึง 2542
4.22พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ 2522 ถึง 2538




วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่7ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรเวล เอเจนซี่ (travel agency)
ความหมายของทราเวลเอเจนซี่
ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความสหมายของแทรเวลเอเจนซี่ไว้ดังนี้
Travel agency: a retail business authorized to sell travel products on behalf of vendors such as airlines, rail companies, and lodging establishments.
(foster, 1994:371)
แทรเวลเอเจนซี่ หมายถึงธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบการธุรกิจ เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ และสถานที่พักแรม
Travel agency: business that helps the public with their travel plans and needs.
(mancini, 2005:7)
บทบาทหน้าที่ของแทรเวลเอเจนซี่
1) จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2) ทำการจอง
3) รับชำระเงิน
4) ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5) ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6) ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7) ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
1. จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
แทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดหาราคาต่างๆเช่นค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ราคาห้องพักของโรงแรม ราคารถเช่า ราคาทัวร์แบบเหมาจ่าย ราคาค่ารถไฟหรือรถประจำทาง ค่าประกันภัยเป็นต้น
2. ทำการจอง
หน้าที่ลำดับที่สองคือ ทำการจอง โดยทั่วไปการจองบัตรโดยสารเครื่องบินจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนเส้นทางการบินและการต่อเครื่องบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในการจองบัตรโดยสารเครื่องบินแทรเวลเอเจนซี่ต้องการข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
2.1จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อและนามสกุล
2.2เบอร์โทรศัพท์
2.3ที่อยู่ทางไปรษณีย์
2.4ชื่อผู้จอง
2.5ข้อมูลความต้องการบริการพิเศษ
2.6วันที่ออกบัตรโดยสาร
2.7รูปแบบการชำระเงิน
3. รับชำระเงิน
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ได้รับการรองรับจาก arc จะได้รับอนุญาติให้รับชำระเงินค่าบัตรโดยสารได้ทุก ๆ สัปดาห์ แทรเวลเอเจนซี่จะต้องส่งรายงานให้กับ arc เกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายรายได้จากการขายบัตรโดยสารจะต้องนำเข้าบัญชีพิเศษที่เรียกว่า settlement account
1.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
แทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางอย่างไรก็ตามโดยทั่วไปลูกค้าส่วนใหญ่มักจะไปรับบัตรโดยสารเอง
2.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
แทรเวลเอเจนซี่ส่วนใหญ่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆนอกเหนือจากการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน สินค้าและบริการเหล่านั้นได้แก่
• ทัวร์แบบเหมาจ่าย(package tours)
• เรือสำราญ(cruises)
• โรงแรม(hotel)
• ค่าเช่ารถ(car rentals)
• ค่าทัศนาจร(sight-seeing excursions)
• ค่าโดยสารรถประจำทาง(bus transportation)
• ค่าประกันภัยในการเดินทาง(travel insurance)
• ค่าโดยสารรถไฟ(rail transportation)
1.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบินอาจไม่สามรถออกบัตรโดยสารเอง แต่จะซื้อบัตรโดยสารจากเอเจนซี่อื่น หรือจากสายการบิน
2.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ในสหรัฐอเมริกาการจะขายบัตรโดยสารเครื่องบินได้นั้นแทรเวลเอเจนซี่จะได้รับการรับรองจาก arc และการบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศจะต้องได้รับการรับรองจากIATAในการที่จะได้รับการรับรองเอเจนซี่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1) มีผู้จัดการที่ทำงานเต็มเวลา ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่arcต้องการ
2) จะต้องมีพนักงานอย่างน้อย 1 คน ที่มีประสบการณ์ในการออกบัตรโดยสารมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีในช่วงเวลา3ปีที่ผ่านมา
3) จะต้องมีเงินประกัน หรือจดหมายรับรองสถานภาพการเงินซึ่งตรงตามเงื่อนไขของARC
ประโยชน์ของการใช้บริการของแทรเวลเอเจนซี่
• แทรเวลเอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและการวางแผนท่องเที่ยว
• แทรเวลเอเจนซี่สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
• แทรเวลเอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
• แทรเวลเอเจนซี่ช่วยแก้ไขปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
• แทรเวลเอเจนซี่รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
• แทรเวลเอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวลเอเจนซี่
เมื่อประมาณ3ทศวรรษที่ผ่านมา แทรเวลเอเจนซี่จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงโดยมักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภทโดยอาจสรุปได้ 4ประเภทคือ
1) แบบที่มีมาแต่เดิม( a conventional agency)
2) แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต(online agencies)
3) แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง(specialized agencies)
4) แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก(home based agencies)
I. แบบที่มีมาแต่เดิม
แทรเวลเอเจนซี่ ประเภทนี้มักขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและเต็มรูปแบบเช่นขายบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก บริการเช่ารถ บัตรโดยสารรถไฟ เรือสำราญ โปรแกรมทัวร์แทรเวลเอเจนซี่พวกนี้อาจแบ่งย่อยได้อีกตามลักษณะการบริหารการจัดการ
1.1แทรเวลเอเจนซี่เป็นเครือข่าย
1.2แทรเวลเอเจนซี่แบบแฟนไชส์
1.3แทรเวลเอเจนซี่อาจเกี่ยวข้องกันในลักษณะของคอนซอเตียม
1.4แทรเวลเอเจนซี่แบบอิสระ
II. แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ตเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ10ปีที่ผ่านมาเอเจนซี่ประเภทนี้ประกอบธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ตและบางครั้งอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์บ้าง
III. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
เอเจนซี่แบบอิสระ และแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของคอนซอเตียม พบว่าอาจจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะทาง เช่น ตลาดนักธุรกิจ ตลาดเรือสำราญ ตลาดลูกคาระดับสูงเป็นต้น
IV. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก
ในปัจจุบันที่ธุรกิจต่าง ๆสามารถทำได้โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการแทรเวลเอเจนซี่อาจจะปรับเปลี่ยนบ้านหรือที่พักเป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงาน ละไม่ต้องใช้งบประมาณสูง
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัท
1) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ทัวร์ที่มีการวางแผนอย่างดี และจัดได้ดีจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวและชมสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้เวลาอย่างเหมาะสมและได้รับความสะดวกสบาย
2) ประหยัดค่าใช้จ่าย
บริษัททัวร์มีบทบาทเป็นผู้ขายส่ง โดยจะมีการซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวในปริมาณมาก เช่น มีการจองห้องพักและที่นั่งโดยสารเครื่องบินในปริมาณมากเพื่อมาทำโปแกรมทัวร์
3) ได้ความรู้
จากการศึกษานักท่องเที่ยวที่เดินทางกับบริษัททัวร์พบว่า นักท่องเทียวกล่าวถึงว่าได้ความรู้เป็นประเด็นสำคัญในการเดินทางกับบริษัททัวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัคคุเทศก์ที่ดีมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้มากกว่าอ่านหนังสือนำเที่ยว
4) ได้เพื่อนใหม่
นักท่องเที่ยวที่ซื้อโปรแกรมทัวร์ประเภทเดียวกันมักจะมีความสนใจที่เหมือนกานและมีสถานภาพทางเศษฐกิจและสังคมในระดับใกล้เคียงกัน
5) ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
นักท่องเที่ยวที่ซื้อโปรแกรมทัวร์ไปยังสถานที่ต่างๆที่ที่ไม่คุ้นเคยอาจจะทำให้ขาดความมั่นใจและเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย การเดินทางไปกับทัวร์จะทำให้รู้สึกสบายใจว่ามีมัคคุเทศน์คอยดูแลและรู้สึกปลอยภัย
6) ไม่มีทางเลือกอื่น
บางครั้งการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสำคัญอาจจะทำให้หาที่พักได้ยากนักท่องเที่ยวจึงหันมาซื้อโปรแกรมทัวร์เนื่องจากบริษัททัวร์มักจะมีห้องพักที่จองไว้แล้วเนื่องจากบริษัททัวร์มักจะมีการจองห้องเป็นจำนวนมาก
ประเภทของทัวร์
ทัวร์แบบเหมาจ่ายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้3ประเภท
• ทัวร์แบบอิสระ(independent tour)
• ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว(hosted tour)
• ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว(escorted tour)
1. ทัวร์แบบอิสระ(independent tour)
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางทอ่งเที่ยวแบบอิสระ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน และการบริการรถรับส่งจากสนามบินหรือรถเช่าทัวร์แบบอิสระจะทำให้นักท่องเที่ยวมีเสรีที่จะวางแผนกิจกรรมต่างๆ
2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว(hosted tour)
หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์ ณแหล่งท่องเที่ยว ตัวแทนบริษัททัวร์จะเข้ามาพบนักท่องเที่ยวเพื่อให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว(escorted tour)
หมายถึงโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทางทัวร์ประเภทนี้นักท่องเที่ยวจะเดินทางเป็นกลุ่มโดยจะมีมัคคุเทศก์ร่วมเดินทางไปด้วย ทัวร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก
บริษัทรับจัดการประชุม
เนื่องจากตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศมีการเติบโตสูงในช่วง20ปีที่ผ่านมาจึงได้เกิดธุรกิจใหม่ที่ให้การบริการด้านการจัดการประชุมซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรม
บริษัทรับจัดการประชุมมีหน้าที่ดังนี้
 เลือกสถานที่สำหรับการประชุม
 จองห้องพัก
 จองห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม
 ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
 ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด
 ประสานงานกับวิทยากรหรือผู้รับเชิญ
 ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
 บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
 ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง

บทที่ 6ที่พักแรม

ความเป็นมา

ธุรกิจที่พักแรมในสากล/ต่างประเทศ
ที่พักแรมมีมาแต่ยุคโบราณ ย้อนหลังไปถึงยุคอารยธรรมกรีกและโรมัน เกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถไปกลับได้ในวันเดียว ปริมาณการเดินทางในอดีตมีไม่มาก ที่พักส่วนใหญ่ขยายตัวไปตามความเจริญทางสังคม

โรงแรม(Hotel)เป็นธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน คำเรียกที่พักว่าhotelนี้เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสและมาปรากฏใช้เรียกธุรกิจประกอบการที่พักแรมในอังกฤษและอเมริกาในศตวรรษที่18และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว กลุ่มหรือเชน(chain)โรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ intercontinental holiday inn Marriott Sofitel Hilton Conrad Sheraton Hyatt le meridianเป็นต้น

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
ธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักเดินทางต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก มีการลงประกาศข่าวในหนังสือพิมพ์ยุคนั้นเกี่ยวกับธุรกิจที่พักแรมประเภทบอร์ดดิ้งเฮ้าส์
กิจการโฮเต็ล หรือโรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
1. โอเรียนเต็ลโฮเต็ล
2. โอเต็ลหัวหิน
3. โอเต็ลวังพญาไท
4. โรงแรมรัตนโกสินทร์
การใช้คำว่าโรงแรมเรียกกิจการที่พักคนเดินทางแทนคำว่า โอเต็ล มีครั้งแรกในพ.ศ.2478พร้อมกับการออกพระราชบัญัติโรงแรมฉบับแรกขึ้น ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
ที่พักแรมเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนองตอบความต้องการพื้นฐานของนักท่องเที่ยวในการพักผ่อนหลับนอนระหว่างการเดินทางไกลจากบ้าน การเสนอบริการที่พักแรมโดยทั่วไปจึงต้องคำนึงปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญได้แก่
• ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก
• ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก
• ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายและสนองต่อความต้องการของผู้พักกลุ่มต่าง
• ความเป็นส่วนตัว
• บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
• ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม
บริการที่พักแรมในปัจจุบันมีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของนักเดินทางท่องเที่ยวที่หลากหลายซึ่งยังคงเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี ประเภทที่พักแรมสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มสำคัญได้แก่

1) โรงแรม(hotel)เป็นที่พักแรมที่นิยมมากของนักท่องเที่ยวทั่วไป โรงแรมมาตรฐานสากลจะมีรูปแบบการดำเนินการบริการที่เป็นแบบแผน ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยในกลุ่มผู้ใช้บริการในพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ.2547ได้ระบุข้อความว่า
โรงแรม หมายความว่า สถานที่พักที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ไม่รวมถึง
• สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการ
• สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น
• สถานที่พักอื่นใดตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
1.1เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
โรงแรมมีอยู่มากมายทั่วโลกสามารถจำแนกประเภทได้โดยใช้เกณฑ์ด้านต่างๆดังนี้
• ด้านที่ตั้ง(location)
• ด้านขนาด(size)
• ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก(purpose of visit)
• ด้านราคา(price/rate)
• ด้านระดับการบริการ(service level)
• ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์(classification/grading)
การใช้สัญลักษณ์สื่อถึงระดับมาตรฐานกิจการได้รับความนิยมทั่วไป เครื่องหมายสัญลักษณ์ที่กลายเป็นที่รู้จักในสากลคือ ดาว(1-5ดวง)
• ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหารแบ่งได้2กลุ่มใหญ่คือ
1. โรงแรมอิสระ(independent hotels)
เป็นโรงแรมที่เจ้าของกิจการดำเนินการเอง ตามนโยบายและวิธีการที่กำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ มีอำนาจในการบริหารโดยสมบูรณืทำให้คล่องตัวในการจัดการ
2. โรมแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือหรือเชน(chain hotels)
หมายถึงโรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่มมักมีการใช้ชื่อประกอบการที่แสดงความเป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกันโดยมีสำนักงานส่วนกลางควบคุมด้านนโยบาย วางระบบการบริหารจัดการให้เป็นไปในทางเดียวกัน มีข้อตกลงตามสัญญาในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน

2) ที่พักนักท่องเที่ยว
• บ้านพักเยาวชน
• ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
• ที่พักริมทางหลวง
• ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก
• เกสต์เฮ้าส์
• อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว
• ที่พักกลางแจ้ง
• โอมสเตย์

แผนกงานในโรงแรม
โรงแรมมีแบบแผนการดำเนินการที่เป็นรูปแบบเฉพาะแบ่งเป็นแผนกงานสำคัญได้ดังนี้
• แผนกงานส่วนหน้า(front office)เป็นศุนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พักรับผิดชอบการรับจองห้องพัก การต้อนรับ ลงทะเบียน บริการข้อมูล ขนย้ายสัมภาระ และรับชำระค่าใช้จ่าย
• แผนกงานแม่บ้าน(housekeeping)รับผิดชอบการจัดเตรียมห้องพักแขก การทำความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆการซักรีดการจัดดอกไม้ตกแต่งสถานที่
• แผนกอาหารและเครื่องดื่ม(food&beverage)รับผิดชอบกระบวนการผลิต/ประกอบ/ปรุงอาหารและการบริการอาหาร-เครื่องดื่มในพื้นที่ต่างๆรวมถึงการจัดเลี้ยง
• แผนกขายและการตลาด(sales&marketing)รับผิดชอบวางแผนตลาดและควบคุมการใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมเพื่อสร้ารายได้แก่ธุรกิจ
• แผนกบัญชีและการเงิน(accounting)ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม
• แผนกทรัพยากรมนุษย์(human resources)ในบางกิจการขนาดเล็กจะเป็นแผนกบุคคล
รูปแบบการจัดห้องพักมาตรฐานโรงแรมทั่วไป

ประเภทห้องพัก
o Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศจะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว
o Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตี่ยงเดี่ยว 2 เตียงตั้งเป็นคู่วางแยกกัน
o Doubleห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้2คนบางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียวเพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
o Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 2ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง



บทที่5การคมนาคมขนส่ง

ความหมาย

การคมนาคมขนส่งหมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่าง ๆ ภายใต้ และราคาที่ได้ตกลงกันไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การคมนาคมขนส่งจะต้อง

• เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการขนส่ง (คน สัตว์ สิ่งของ)จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
• การขนส่งนั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ ฟ
• การขนส่งนั้นต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ต้องการใช้บริการ

พัฒนาการขนส่งทางบก
ประวัติการขนส่งทางบก เริ่มขึ้นในสมัย 200ปีก่อนคริสตกาล หรือยุคบาบิลินซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะนำสัตว์เช่น วัว ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก จนกระทั่งในยุคโรมันจึงได้มการพัฒนาการขนส่งจากรถลากสองล้อมาเป็นรถสี่ล้อที่ใช้ม้าลาก

พัฒนาการขนส่งทางน้ำ
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้เราทราบว่า การขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีการพัฒนาแพขึ้นมาจากท่อนไม้ และต่อมานำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เจาะเป็นลำเรือดังหลักฐานที่พบได้มากจากเรือรุ่นแรกที่ขุดพบในประเทศอียิปต์เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว โดยมีรูปร่างคล้ายตะกร้าลอยน้ำขนาดใหญ่ที่อุดชันด้วยยางไม้ธรรมชาติหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นโดยนำเอาหนังสัตว์ขนาดต่าง ๆ มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือที่เรียกว่าเรืองหนังสัตว์(coracles)

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
อาจจะกล่าวได้ว่าหลังจากปีค.ศ.1903ซึ่งเป็นปีที่สองพี่น้องตะกูลwrightได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก ก็ได้มีความพยายามพัฒนารูปแบบและเครื่องยนต์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากได้มีการผลิตเครื่องบินออกมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1
ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
อาจจะกล่าวได้ว่าธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 3ประเภทเช่นกัน ได้แก่


1. ธุรกิจการขนส่งทางบก
การคมนาคมขนส่งทางบกจัดว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งมากโดยเฉพาะการเดินทางโดยรถยนต์เนื่องจากความสะดวก คล่องตัวและประหยัด
1.1การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
ในประเทศไทยนั้นการเดินทางด้วยรถไฟยังไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับทางรถยนต์แล้วมีราคาค่อนข้างแพง
1.2การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
การเดินทางท่องเที่ยวทางรถยนตร์ได้รับความนิยมมากจงบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้เนื่องจากเหตุผลหลักต่อไปนี้เช่นการประหยัด สะดวก รวดเร็วและคล่องตัว
1.3การท่องเที่ยวโดยรถเช่า
การเดินทางท่องเที่ยวทางถนนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับรถยนต์กับรถยนตร์ส่วนบุคคลแล้วยังครอบคลุมถึงการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่าและรถตู้เพื่อนันทนาการ

ธุรกิจเช่ารถจะแบ่งได้2ประเภทใหญ่
1.1.4 บริษัทเช่ารถระหว่างประเทศขนาดใหญ่
1.2.4บริษัทรถเช่าขนาดเล็กอิสระ

1.4รถตู้เพื่อนันทนาการ
ในรถตู้ปัจจุบันเพื่อนันทนาการนับเป็นยานพาหนะที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้เดินทาง โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรป

1.5รถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
รถโดยสารมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยรถม้าโดยสาร และปรับปรุงจนเป็นรถโดยสารที่ใช้เครื่องยนตร์หลังจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องยนต์ขึ้นมาสามารถแบ่งออกได้2ประเภท
1.1.6รถโดยสารประจำทาง คือให้บริการจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งตามตารางเดินรถที่แน่นอน
1.2.6รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา เพื่อการท่องเที่ยว การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางได้ลดลงกว่าในอดีต

2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เรือถูกใช้เป็นพาหนะการเดินทางสำรวจดินแดนเพื่อการค้ามานานกว่าพันปีนอกจากนี้เรือยังถูกใช้เป็นพาหระคมนาคมขนส่งระหว่างเมืองท่าต่าง ๆ ในค.ศ. 1838 แซมมวล คิวนาร์ด เจ้าของบริษัทเดินเรือได้ริเริ่มเส้นทางเดินเรือกลไฟประจำทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติระหว่างเมืองลิเวอร์พลู
2.1เรือเดินทะเล (ocean-lines)เป็นเรือคมนาคมขนส่งจากเมืองท่าหนึ่งไปอีกเมืองท่าหนึ่งปัจจุบันความนิยมในการคมนาคมขนส่งโดยเรือแบบนี้ได้ลดน้อยลงไปแล้ว
2.2เรื่อสำราญ (cruise ships/lines)ในยุคแรกระหว่างปีค.ศ.1960-1970เรือสำราญมีขนาดระหว่าง18000-22000ตันทำการขนส่งผู้โดยสารประมาณ650-850คนเทคโนโลยีทางทะเลช่วยให้สามารถสร้างเรือสำราญให้ใหญ่กว่าเดิมได้หากมีความต้องการ
เรือสำราญคล้ายโรงแรมลอยน้ำ คือ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีบริการที่ประทับใจ ได้แก่ ห้องพักหลายประเภทตั่งแต่ห้องพักธรรมดาจนถึงหรูหรามีห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง จัดอาหารทุกมื้อและมีหลายชนิด มีการบันเทิง เช่นดนตรี การแสดงกิจกรรมเป็นต้น
2.3เรือข้ามฟาก(ferry) เป็นเรือสำหรับการเดินทางระยะสั้นๆซึ่งสามารถบันทุกผู้โดยสาร รถยนต์ รถโดยสาร หรือบางครั้งรถไฟ
2.4เรือใบและเรือยอร์ช (sail cruise and yacht) ในอดีตจะมีเพียงผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถซื้อเรือยอร์ชหรือเรือใบไว้ท่องเที่ยว
2.5เรือบรรทุกสินค้า(cargo lines) นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชอบที่จะท่องเที่ยวไปกับเรือบรรทุกสินค้าที่ไม่รีบเร่งและจอดตามเมืองท่าต่างๆ ทั่วโลก โดยทั่วไปเรือบรรทุกสินค้าสามารถรับผู้โดยสารได้ประมาณ12 คน

3. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ (air transportation)
สงครามโลกครั้งที่2ก่อให้เกิดผมดีในระยะยาวต่อการเติบโดตของธุรกิจการบินพาณิชย์ เช่นเทคโนโลยี
การบินด้วยความเร็ว ประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงที่คิดค้นขึ้นในช่วงสงคราม การพัฒนาลำตัวเครื่องบินให้กว้างขวางขึ้น ความรู้เรื่องอากาส และการปรับปรุงแผนที่ทางอากาศ การฝึกฝนนักบินโดยใช้เครื่องบินที่เหลือจากสงครามจำนวนมาก ตลอดจนการพัฒนาเครื่องบินไอพ่น(jet aircraft)ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศได้เป็นอย่างดี
การเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศแบ่งออกเป็น3ประเภทใหญ่คือ
3.1การบินลักษณะเที่ยวบินประจำ(scheduled air service)เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองโดยมีคารางการบินที่แน่นอน การบินประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
3.1.1เที่ยวบินประจำภายในประเทศ (domestic flight)
3.1.2เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ (international flight)
3.2การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ (non-scheduled air service)
เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง และสามารถแวะรับส่งผู้โดยสารทั่วไปโดยไม่ต้องเป็นกลุ่มเดิมได้ จึงได้รับความนิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
3.3การบินลักษณะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (chartered air service)เป็นการบินที่ให้บริการแก่กลุ่มสมาชิกสมาคมหรือองค์การ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้นราคาค่าโดยสารถูกกว่าราคาเที่ยวบินของสายการบินปกติ





วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การเดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต














จังหวัดภูเก็ต
ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง
สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม



ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต

ประวัติความเป็นมาจังหวัดภูเก็ต
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณเกาะภูเก็ตได้มีการเรียกขานกันมาหลายชื่อ ได้แก่ แหลมตะโกลา มณีคราม จังซีลอน ภูเก็จ (ซึ่งหมายถึงภูเขาแก้ว) จนกลายเป็นคำว่า “ภูเก็ต” เป็นเมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ 1 พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ.2328 โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสองเป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

ภูมิอากาศ
ภูเก็ตมีอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน ฤดูร้อนเริ่มเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส

อาณาเขต :
ทิศเหนือ จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานเทพกระษัตรี
ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดภูเก็ต
- ประตูเมืองสู่ภูเก็ต (Phuket Gateway)
- พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว Phuket Thaihua Museum
- อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง)
- หาดป่าตอง
- ภูเก็ตแฟนตาซี
- ตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส
- จุดชมวิว 3 หาด
- หาดกะตะ-กะรน
- หาดในหาน
- แหลมพรหมเทพ
และสถานที่อื่นอีกมากมาย


ตำนานสะพานรักสารสินแห่งเมืองภูเก็ต
สะพานสารสินเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ เมื่อมีโศกนาฏกรรมของหนุ่มสาว 2 คนที่ตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 และได้นำเรื่องราวของคนทั้งสองมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ "สะพานรักสารสิน"สะพานรักสารสิน เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มหญิงสาวที่แตกต่างกัน ด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ฝ่ายหญิงชื่อ "อิ๋ว" เป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายชื่อ "โกไข่" เป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง พ่อเลี้ยงอิ๋วแบบเผด็จการไม่ให้อิสระ และต้องการให้แต่งงานกับคนมีฐานะ จึงถูกขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้รักของเธอและเขาสมหวังความรักที่เหมือนนิยายน้ำเน่าของหนุ่มขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง ที่มีฐานะยากจนมาก แต่กลับไปหลงรักกับหญิงสาวที่มีฐานะสูงส่งและมีพื้นฐานครอบครัวที่เผด็จการ ไม่ให้อิสระทางความคิดกับลูกสาว แม้ว่าลูกสาวโตจนมีอาชีพเป็นครูแล้วก็ยังถูกกีดขวางจากผู้เป็นพ่อ ที่พยายามจะคลุมถุงชนลูกสาวให้แต่งงานกับชายหนุ่มที่มีฐานะดี และพยายามขัดขวางทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ลูกสาวได้คบกับโกไข่ หนุ่มขับรถสองแถว หลังจากที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะพิสูจน์ให้ผู้เป็นพ่อได้เห็นถึงความตั้งใจและความรักที่ทั้ง 2 มีให้แก่กัน แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่เป็นผล เมื่อผู้เป็นพ่อของฝ่ายหญิงไม่ยอมเปิดใจรับ หลายครั้งที่อิ๋วฝ่ายหญิง ถูกผู้เป็นพ่อทุบตีเยี่ยงสัตว์เพราะแอบมาพบเจอกับโกไข่ หนุ่มขับรถสองแถว และผู้เป็นพ่อก็พยายามทุกวิถีทางที่จะยัดเยียด ลูกสาวให้กับเศรษฐีมีเงิน ชาวบ้านท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต ต่างก็ทราบดีถึงความรักที่มีอุปสรรคของหนุ่มสาวทั้งสอง หลายคนพยายามแนะนำให้โกไข่เลิกกับครูอิ๋ว เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของทั้งคู่ และผู้ใหญ่หลายคนพยายามพูดคุยกับพ่อของครูอิ๋ว เพื่อที่จะให้ยอมรับโกไข่ เป็นลูกเขย แต่ไม่ได้รับการยินยอม ไม่ว่าจะทำด้วยวิถีทางใด ในที่สุดเมื่อความรักถึงทางตัน 22 กุมภาพันธ์ 2516 โกไข่ นายหัวรถสองแถวและครูอิ๋ว สาวผู้สูงศักดิ์ ก็ได้ตัดสินใจเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำ ทิ้งเรื่องราวความรักที่เป็นอมตะ ให้ผู้คนได้กล่าวขานถึงปัจจุบันนี้
ตำนานรักสะพานสารสิน เป็นบทเรียนแห่งความรักอีกบทหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในตำนานคู่เมืองภูเก็ต แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปสักกี่ยุคกี่สมัย ตำนานเหล่านี้ก็ต้องบันทึกไว้และเป็นบทเรียน ที่ทุกคนควรศึกษาและเข้าใจความหมายของคำว่า รักที่แท้จริง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป






สะพานสารสิน





แผนที่จังหวัดภูเก็ต



- วัดฉลองวัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป จากเรื่องราว ความศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดี ของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในการเป็นที่พึ่ง ให้แก่ชาวบ้าน ในการต่อสู้กับพวกอั้งยี่ (พวกจีนที่ก่อการกบฏ) ตั้งอยู่ห่างจาก
แหลมพรหมเทพประมาณ 16 กิโลเมตร


หาดกะตะเป็นชายหาดที่อยู่ระหว่างหาดกะตะน้อยและหาดกะรน โดยใช้เวลาเดินทางเพียงไม่กี่นาทีระหว่างทั้งสามหาด หาดกะตะเป็นชายหาด ที่มีชื้อเสียงแห่งหนึ่งของภูเก็ต มีเม็ดทรายสีขาวและละเอียดสวยงาม บริเวณชายหาดมีต้นปาล์มขึ้นเป็นแนวตามชายหาด สวยงามเป็นที่นิยม พักผ่อนของชาวต่างชาติ
บริเวณชายหาดมีบ้านพัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า แหล่งบันเทิง ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน

- หาดในหานเป็นหาดที่อยู่ถัดจากแหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนือ ใกล้ๆหาดจะมีบึงขนาดใหญ่อยู่ ซึ้งชาวบ้านเรียกว่าหนองหาน หาดในหาน เป็นชายหาดทีมีความยาวพอสมควร เมื่อเทียบกับอ่าวเสนซึ้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เป็นที่นิยมสำหรับนอนอาบแดดของชาวต่างชาติ หาดทรายไม่ขาวมากแต่มีเม็ดทรายเล็กละเอียด มีแหล่งขายของที่ระลึกในบริเวณรอบ ใกล้ๆกับหาดในหานนี้ยังมีอ่าวเล็กๆ ซึ้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง คืออ่าวเสน ในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมี คลื่นแรงมาก ไม่เหมาะสำหรับการลงเล่นน้ำ


แผนที่แสดงสถานที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวและการเข้าถึง

แผนที่แสดงที่ตั้งแหลมพรหมเทพ

ความประทับใจ
แหลมพรหมเทพ ถูกจัดเป็นหนึ่งในโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุดเด่นคือ "ชมพระอาทิตย์ตกทะเล สวยที่สุดในประเทศไทย"
ในบรรดาสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่ขึ้นชื่อของเมืองไทย เชื่อแน่ว่านักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยคงต้องนึกถึง “ แหลมพรหมเทพ ” ที่จังหวัดภูเก็ต เพราะมีหลายสิ่งที่แตกต่างไปจากที่อื่นๆ แหลมพรหมเทพถือว่าเป็นสถานที่ โรแมนติกแห่งหนึ่งของเกาะภูเก็ต หลายคู่มักชวนกันมานั่งชมพระอาทิตย์ตก ดื่มด่ำกับบรรยากาศใน ยามเย็นที่มองเห็นคลื่นแต่ไกล ปล่อยความรู้สึกไปกับทะเลที่ระยิบระยับอันกว้างไกล มีท้องฟ้า อยู่เบื้องหน้า มองเห็นดวงอาทิตย์ลูกกลมสีแดงสดค่อยๆทอดตัวลงแตะขอบน้ำแล้วก็จมหายไป สิ่งสำคัญที่อยู่บนแหลมพรหมเทพอีกอย่างก็คือ ประภาคาร ซึ่งเป็นหอคอยสูง กลางคืนจะเปิดไฟส่องวับวาบ ให้สัญญาณกับเรือที่กำลัง แล่นอยู่กลางทะเล ประภาคารนี้ได้สร้างขึ้นมาใหม่ในช่วงเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก 50 ปี มีชื่อว่า “ ประภาคารกาญจนาภิเษก ” และตรงจุดนี้ก็เป็นที่รายงานเวลาพระอาทิตย์ตกของประเทศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในช่วงข่าวตอนเย็นๆ

แหลมพรหมเทพสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ทุกครั้งที่มาเที่ยวอาจเห็นภาพและบรรยากาศที่แตกต่าง กันออกไป หากวันใดมีฟ้าใสไร้เมฆ ก็จะเห็นภาพอาทิตย์ลูกกลมๆสวยงาม หรือหากวันใดมีเมฆมากก็จะเห็นภาพไปอีกแบบหนึ่ง การมาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่จึงเห็นความงดงามที่ไม่ซ้ำกัน

จากการเดินทางไปสำรวจทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของแหลมพรหมเทพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2553 สภาพฤดูฝน ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุม แต่การเดินทางครั้งนี้ก็ไม่สูญเปล่า บรรยากาศที่แหลมพรหมเทพยังมีความสวยงามและโรแมนติกไปอีกแบบหนึ่ง ถึงแม้นักท่องเที่ยวจะลดน้อยลงแต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวบางส่วนเดินทางมาอย่างไม่ขาดสาย บางคนยังไม่เคยไปสัมผัสความงามของแหลมพรหมเทพแต่บางคนไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ยังคงรู้สึกตื่นเต้นและประทับใจจนต้องกลับมาอีก

การเสริมบริการ
แหลมพรหมเทพเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุดของจังหวัดภูเก็ต หลังจากที่เดินทางท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆในช่วงกลางวันสถานที่สุดท้ายก่อนที่จะไปท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศยามค่ำคืน คงจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจากแหลมพรหมเทพ

สิ่งอำนวยความสะดวก

เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่านักท่องเที่ยวยามเดินทางห่างไกลจากบ้าน ต้องการสิ่งจำเป็นหลายอย่างในการตอบสนองความต้องการของชีวิตต้องการที่พัก อาหาร การบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการเดินทาง

จากการสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวของแหลมพรหมเทพมีการอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆแกนักท่องเที่ยวดังนี้

1.ที่พัก เนื่องจากแหลมพรหมเทพเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยามเย็นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางแบบไปกลับในบริเวณพื้นที่แหลมพรหมเทพจึงไม่มีสถานที่พัก แต่หากนักท่องเที่ยวสนใจและต้องการสามารถเดินทางไปที่หาดในหานซึ้งตั้งอยู่ห่างจากแหลมพรหมเทพ 2 กิโลเมตรและหาดราไวย์ ระยะห่างประมาณ 2 กิโลเมตรเช่นกันซึ่งจะมีที่พักไว้คอยให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างหลากหลายแบบ หลายราคา ตามแต่สะดวก
แนะนำโรงแรม

-โรงแรม เดอะ รอยัล ภูเก็ต ยอชต์ คลับ (The Royal Phuket Yacht Club Hotel) ระยะห่าง 1.38 กิโลเมตร


-โรงแรม เดอะ รอยัล ภูเก็ต ยอชต์ คลับ (The Royal Phuket Yacht Club Hotel) ระยะห่าง 2.69 กิโลเมตร


ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
นักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าปกติเมื่อเดินทางท่องเที่ยว การจัดอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ต้องมีทั้งอาหารประจำชาติของนักท่องเที่ยว และอาหารท้องถิ่น เพราะอาหารทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ บริเวณแหลมพรหมเทพจะมีร้านอาหารเพียงแห่งเดียวไว้บริการ


ร้านอาหารแหลมพรหมเทพ
ร้านอาหารแหลมพรมเทพ จัดรายการอาหารให้คุณเลือกหลากหลาย พร้อมรื่นรมย์กับบรรยากาศยามพระอาทิตย์อัสดง ท่ามกลางความสดชื่นของกลิ่นอายทะเล และแมกไม้ ในแต่ละมุมของร้าน ได้จัดขึ้น โดยคำนึงถึงเรื่องความใกล้ชิด ธรรมชาติ เหมาะสำหรับเป็น สถานที่พบปะสังสรรค์ เนื่องในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน มงคล สมรส งานฉลองรับ ปริญญา งานวัน คล้าย วัน เกิด เมนูมีทั้งอาหารไทย จีน ยุโรป และ อาหารทะเลรสเลิศ ต้องเหมาะกับบรรยากาศ สัมผัสลมทะเลยามเย็น สุดจะโรแมนติก โทร 076 288656, 076 288084









นอกจากนี้ยังมีร้านค้าแบบรถเข็ญอยู่ด้านล่าง จะจำหน่ายอาหารจำพวก ปลาหมึกย่าง ลูกชิ้นปิ้ง ขนมต่างๆ นักท่องเที่ยวชาวไทยจะนิยมซื้อไปรับประทานขณะนั่งชมพรอาทิตย์ตก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังแหลมพรหมเทพจะนิยมไปรับประทานอาหารที่บริเวณหาดราไวย์เนื่องจากมีร้านอาหารให้เลือกมากมายและบรรยากาศดีไม่แพ้แหลมพรหมเทพ

ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก
สินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นของที่ระลึก เช่นผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย โมบาย กรอบรูปต่างๆ เสื้อผ้าบาติกและสินค้านานาชนิด





ร้านขายของที่ระลึก นอกจากเป็นการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชาติด้วย จากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1993 นักท่องเที่ยวดังกล่าว ใช้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าจำนวนสูงสุดร้อยละ 42.76 คิดเป็นจำนวนเงิน 54,650 ล้านบาท (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2537:15)

สภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยว
เป็นแหลมที่ยื่นออกไปสู่ทะเล อยู่ระหว่างหาดไนหานและหาดราไวย์ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยม มาชมพระอาทิตย์ตกทะเล หญ้าที่ขึ้นบนแหลมฤดูฝนจะเป็นสีเขียว ฤดูแล้งจะเป็นสีเหลืองทองเมื่อกระทบกับแสงแดดยามลับขอบฟ้า และมีต้นตาลขึ้นตามธรรมชาติบริเวณแหลมด้วย


วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่4องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ และรวมเอาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลายปะเภทเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเราอาจแบ่งประเภทธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออกเป็น 2 ประเภทคือ

ธุรกิจที่จัดเป็นองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบเสริม องค์ประกอบหลักประเภทแรกคือ แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ หากลองคิดดูง่าย ๆ ว่าถ้านักศึกษาจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดชลบุรี นักศึกาจะไปที่ไหน แน่นนอนว่า คำตอบส่วนใหญ่คือ ทะเล ดั้งนั้น หากไร้ซึ่งการท่องเที่ยวแล้ว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้น ๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว(tourism resources)
2. จุดหมายปลายทาง(destination)
3. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว(tourist attraction)

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว

อาจจะแบ่งแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยลักษณะเฉพาะทางต่างๆ ได้แก่
1. ขอบเขต(scope)
2. ความเป็นเจ้าของ(ownership)
3. ความถาวรคงทน(permanency)
4. ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวDrawing power)

ขอบเขต

อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภทตามขอบเขตได้แก่ จุดหมายหลัก คือสถานที่ต้องน่าดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่ทำให้วกเขาเหล่านั้นมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น
จุดหมายรองคือ สถานที่แวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างการเดินทางไปยังจุดหมายหลัก ส่วนมากเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ

ความเป็นเจ้าของ

แหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสถานที่ทางธรรมชาตและมนุษย์สร้างขึ้น อาจจัดแบ่งได้ตามความเป็นเจ้าของ ซึ่งทำให้ทราบว่าแหล่งเงินสนับสนุนมาจากที่ไหน หรือรายได้ต่าง ๆ ตกอยู่ที่ใคร ต้องเสียภาษีเท่าไร เหมือนการขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ผู้ที่จัดว่าเป็นเจ้าของแหล่งทอ่งเที่ยวได้แก่
1. รัฐบาล
2. องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
3. เอกชน

ความถาวรคงทน
คือแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่เป็นสถานที่ อาจจะมีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพราะงานเทศกาลมักจะมีช่วงเวลาของการดำเนินงาน

ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกันไป อย่างไรก็ดี แหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชน และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

การทอ่งเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภท
1. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์
3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของคนในท้องถิ่น


แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
หมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งดานชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ซึ่งทรัพยากรประเภทนี้ไม่มีต้นทุนการผลิตแต่มีต้นทุนในด้านการดูแลรักษา

แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
คือสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุรวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยว
สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศไทยนั้นกรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7ประเภทได้แก่
1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ
3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
4. ย่านประวัติศาสตร์
5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
6. นครปะวัติศาสตร์แห่งชาติ
7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ

แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย

ภาคกลาง
ประกอบไปด้วย 21 จังหวัดและ1เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพรชบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนกรุงเทพมหานครไม่นับว่าเป็นจังหวัด

ภาคเหนือ
ประกอบไปด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด กำแพงเพรช เชียงรายเชียงใหม่ นครสววร์ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพรชบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุขโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานีมีพื้นที่รวม 169644.3 ตารางกิโลเมตหรือประมาณ 106 ล้านไร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคอีสานประกอบด้วย 19จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานีมีพื้นที่ประมาณ 170226ตารางกิโลเมตร หรือ1ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

ภาคตะวันออก
ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี ชลบุรี ตราด และระยอง

ภาคใต้
ประกอบด้วย14จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานีพื้นที่ภาคใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดียขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตกมีเนื้อที่รวม707,152ตารางกิโลเมตรจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดคือสุราษฏร์ธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุดคือภูเก็ตมีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร


วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต


395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
395 Years Pinto’s Pérégrinação : an Account of Historiography or
Adventurous Novel








ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”




งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531: 115) เป็นต้น
ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้(Henry Cogan, 1653 :1-2) ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B)
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน (จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1,2510 : 502) ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์



คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช(ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม
เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น นอกจากนี้ อี.ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน(E.W. Hutchinson) ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า
“ทหารโปรตุเกสจำนวน 120 คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษา
พระองค์(bodyguards)ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่”



บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว

"ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว"

"การท่องเที่ยว" หลายคนอาจนึกถึงคำว่า การเดินทาง ไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อไปร่วมกิจกรรมบางอย่าง จะพบว่าการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการเดินทางแต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การเดินทางไม่ใช่การท่องเที่ยวเสมอไป

ความหมายของการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวนั้นนิยามความหมายได้ยาก เพราะการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบของนันทนาการ การท่องเที่ยวนั้นจะต้องมีจุดประสงค์ การท่องเที่ยวต้องมีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพ
และการหารายได้

นักท่องเที่ยว (Tourist)

คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง

นักทัศนาจร (Excursionist)
คือ ผูมาเยือน และพักอาศัยชั่วคราว ณ สถานที่ที่ไปเยื่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ

กลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่
ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
• ผู้ที่มีสัญชาติประเทศนั้น หรือเดิมเป็นคนถิ่นนั้นแต่ไม่ได้อาศัยอยู่
• ผู้ที่เป็นลูกเรือ

กลุ่มนักทัศนาจร ได้แก่
ผู้มาเยือนขาเข้า
• ผู้มาเยือนขาออก
• ผู้มาเยือนภายในประเทศ

วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
สามารถแบ่งออกได้ 3 ประการใหญ่ๆ ได้แก่
• เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและผักผ่อน
• เพื่อธุรกิจ
• เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และพักผ่อน
เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง นักท่องเที่ยวต้องการหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน เพื่อไปชมหรือสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่


การเดินทางเพื่อธุรกิจ
เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ที่ไปท่องเที่ยวนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดนิทรรศกาล หรือเรียกว่า MICE
การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
เป็นการเดินทางโดยวัตถุประสงค์เฉพาะ ที่นอกเหนือจากการเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินหรือธุรกิจ

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว

บทที่ 2

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้น
ถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์มากมายที่จะต้องจดจำและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
สรุปได้ว่าในสมัยอาณาจักรโรมันการท่องเที่ยวมีทั้งการท่องเที่ยวภายในประเทศ และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แต่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศนั้นเป็นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดนเพราะไม่มีอาณาเขตแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นดินแดนของอังกฤษ หรือ ซีเรีย อย่างในปัจจุบัน เพราะอาณาจักรโรมันครอบคลุมไปถึงทั้งหมด ทุกแห้งใช้เงินตราของโรมัน ท้องทะเลปลอดจากพวกโจรสลัด เพราะมีการล่าตระเวนของทหารโรมัน ภาษาละตินก็เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น Itineraria ประกอบด้วยรายชื่อของพักพร้อมทั้งสัญลักษณ์ที่บอกเกรดของที่พักเหล่านั้น ทำนองเดียวกับที่ Michelin Guides ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อที่น่าสังเกต อีกประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นมีลักษณะขั้นตอนของระเบียบทางราชกาลให้เห็นอยู่เหมือนกัน



การท่องเที่ยวในยุคกลาง

ยุคกลาง คือ ช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ.500-1500 หรือเป็นช่วงที่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน แต่ก่อนจะเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุคกลางเรียกอีกอย่างว่า ยุคมืด ช่วงเวลาดังกล่าวถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเศรษฐกิจตกต่ำแต่ศาสนจักรโรมันคาทอลิค ยังคงเป็นศูนย์รวมของสังคมและอำนาจการเดินทางมีความลำบากมากขึ้นและอันตรายมากขึ้น ทำให้ผู้คนเดินทางกันในระยะสั้นๆ ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ผลของการเดินทางเพื่อจารึกแสวงบุญมีประเด็นสำคัญที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. มีเป้าหมายของการเดินทางที่เด่นชัดได้แกรแสวงบุญ
2. ผลการเดินทางมีความสำคัญและความหมายทางด้านจิตใจเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งชีวิต
3. ผู้แสวงหาบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทางในรูปของที่ระลึก



แกรนด์ทัวร์

ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเสรีภาพและความต้องการที่จะเรียนรู้ในยุคฟื้นฟูศิลปซิทยาการ ยุคที่มีระยะเวลาประมาณ 300 ปี เริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 และสิ้นสุดลงในราวศตวรรษที่ 17 โดยมีอิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดและเป็นฉบับให้ประเทศเพื่อนบ้านคือ ฝรั่งเศษ เยอรมัน ยุโรปเหนือและ อังกฤษตามลำดับ
ในปีค.ศ.1749 Dr.Thomas Nugent ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวออกมาให้ชื่อว่า The Grand Tour หนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้นนักเดินทางใจกล้าบางคนเดินทางไปไกลถึงประเทศอิยิปต์ ภึงแม้ว่าจุดประสงค์ของการเดินทางแบบ Grand Tour




การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่

การอาบน้ำแร่ หรือ Spa เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่ยุคโรมันโดยเชื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยา แต่ความนิยมการไปอาบน้ำแร่ได้ลดลงในยุคหลังๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าความนิยมจะลดลงอย่างสิ้นเชิง เพราะคนที่เจ็บป่วยก็ยังคงเดินทางไปยังเมือง Bath ตลอดช่วงของยุคกลางในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ความนิยมที่จะใช้ในการอาบน้ำแร่เพื่อบำบัดโรคได้ กลับกลายมาเป็นที่นิยมขึ้นใหม่ในประเทศอังกฤษและเมืองใหญ่ๆ บางแห่ง


กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล

การอาบน้ำทะเลเพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การอาบน้ำทะเลในสมัยนั้น ผู้ที่อาบทั้งเสือ้ผ้า เพราะการถอดเสื้อผ้าว่ายน้ำขัดกับจารีตในสมัยนั้น การอาบน้ำทะเลเริ่มต้นขึ้นจากเหตุผลทางด้านสุขภาพ และความคิดที่ว่าการอาบน้ำทะเลจะทำให้สุขภาพดีนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับในตอนต้นศตววรษที่ 18
Thomas Cook ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการที่เป็นผู้ริเริ่มที่มีความสำคัญที่สุดต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระยะเริ่มแรก ในปี 1841 ขณะที่ Cook ยังเป็นเลขาธิการของ Midland Temperance Association เขาได้จัดทัวร์พาสมาชิกของสมาคม เดินทางจาก Leicester ไปยัง Loughborough
Thomas Cook เป็นนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยว ความสำเร็จในการดำเนินกิจการของเขาให้เป็นเพราะเขาพยายามที่จะลดปัญหาให้เหลือน้อยที่สุดในการจัดรายการท่องเที่ยว เขาจะมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับบรรดาโรงแรมรถไฟ และบริษัทส่งสินค้าทางเรือต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้ได้บริการต่อลูกค้าอย่างดีที่สุดและในราคาที่ถูกสำหรับบริการของเขส

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแต่งต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยาผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึง
เครือข่าย

ทฤษฏีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(hierarchy of needs)
2. ทฤษฏีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(travel career ladder)
3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(hidden agenda)
4. แรงจูงในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ swarbrooke

ในหนังสือเรื่องconsumer behavior in tourismของjohn swarbookeซึ่งตีพิมพ์ในปีค.ศ.1999swarbooke จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6ชนิด ด้วยกันที่แสดงอยู่ในแผนภูมิที่3แรงจูงใจเหล่านี้ได้แก่

1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ(physical)
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ควารู้สึกบางอย่าง
4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล

จากแนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจในทัศนะของนักวิชาการด้านแรงจูงใจทั้ง4คนที่ได้กล่าวมาแล้วสามารถสรุปได้ว่า ในการที่นักท่องเที่ยวจะเลือกแหล่งที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ได้เกิดจากแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่การตัดสินใจที่จะไปท่องเที่ยวมักจะเกิดจากแรงจูงใจหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันเช่น การที่คู่สมรสชาวฮ่องกงผู้หนึ่งตัดสินใจเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

Pearce Morrison และRutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้

1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่วแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่ได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย

นักเดินทางประเภทแบกเป้นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางลักษณะแบบนี้อาจจะสรุปได้เป็น 4 มิติด้วยกันดังต่อไปนี้
1. การหลีกหนี(escape)
2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่วแวดล้อม
3. การทำงาน(employment)
4. เน้นการคบหาสมาคม(social focus

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐานในอุคสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกสบายรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมได้แก่

1. ระบบไฟฟ้า
2. ระบบประปา
3. ระบบสือสารโทรคมนาคม
4. ระบบการขนส่งประกอบไปด้วย
4.1ระบบการเดินทางทางอากาศ
4.2ระบบการเดินทางทางบก
4.3ระบบการเดินทางทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค

การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไปจำทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ประกอบกับการที่มนุษย์มักต้องการเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่าง ๆ ที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างออกไปจากที่ตนเองอาศัยอยู่ ส่งผลให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่างๆบนผิวโลก จึงเห็นว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่ตนเองอาศัยอยู่

1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์

1.1ลักษณะ๓มิประเทศ


1)การเปลี่ยนแหลงจากภายในเปลือกโลก
2)การเปลี่ยนแหลงบริเวณผิวโลก

1.2ลักษณะภูมิอากาศ

2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม