วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ (ATMs) เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (onetoo many)
ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
•คือ การที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคา ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทน จำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
•ทำ ให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่าง
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
VS
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์
www.airasia.com
www.thaiairways.com
ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่8
ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุสาหกรรมการท่องเที่ยว
นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้วยังมีธุรกิจอื่นๆดำนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่าง ๆ แก่ นักท่องเที่ยวเช่น การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศุนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่น ๆ
ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ความหมายของธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจที่พักและธุรกิจขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องรับประทานอาหารในระหว่างการท่องเที่ยวหรือการเดินทาง
ในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ห้องอาหารในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า ภัตตาคารได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบา
การจำแนกปะเภทของธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีร้านอาหารและภัตตาคารต่าง ๆ มากมายไว้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการจำแนกประเภทของร้านอาหารอย่างชัดเจน แม้นแต่ในโรงแรมเองก็มีการบริการอาหารหลายประเภทหลายระดับ
ทั้งนี้เราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน
เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่ง
รับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่
เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป
ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรง
ทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก
4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพ
เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่
เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย
5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว
ๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น ดังนั้นการฝึกฝนให้พนักงานบริการอย่างรวดเร็วจึงค่อนข้างจำเป็น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ
มาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ จึงทำให้ต้องลงทุนสูงกว่าภัตตาคารหรือร้านอาหารประเภทอื่นๆเพื่อชื่อเสียงของร้านและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ
เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ พนักงานเน้น
ลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ
อาหารไทย
อาหารไทยถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีตเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่ก็มักต้องการลิ้มรสอาหารไทยแบบดั่งเดิมดูสักครั้ง
อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยอุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงแวดล้อมไปด้วยพืชพรรณธรรมชาตินานาชนิด ภาคเหนือยังมีคนไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่จึงมีความหลากหลายทางวัมนธรรม และยังคงใกล้ชิดธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งผลให้อาหารทางเหนือยังใช้พืชตามป่าเขาและพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารแบบขัยโตก อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวานจะมาจากผัก เช่นการนำผักมาผัดหรือต้มให้นุ่มก่อนรับประทาน เช่นแคปหมูใช้รับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยวก่อนรับประทาน
อาหารไทยภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเล อาชีพของชาวใต้ก็คือชาวประมงอาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา จะมีกลิ่นคาวจัดใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้หลายชนิดที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั่งอยู่บนพื้นที่ที่ราบสูง กักเก็บน้ำได้ไม่ดีจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ โดยทั่วไปคนอีสานชอบอาหารรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว จึงมีการถนอมอาหาร เช่นปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู เป็นต้น
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มนิยมหันไปทำธุรกิจในลักษณะที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือตามที่ วินิจ วีรยางกูรได้สรุปไว้ดังนี้
1) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง
2) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
3) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพสูง
4) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทรับประทานแล้วทิ้งเลย
5) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงอาหารไม่ซับซ้อน
ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1) อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานตั้งแต่8.00-9.00เป็นเป็น2ประเภทคือ
1.1อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
1.2อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ
2) อาหารก่อนกลางวัน คือรับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่9.30-11.30
3) อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4) อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)
ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้

5) อาหารเย็น ( Dinner)เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6) อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion)ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึกShopping and Souvenir Business
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
I. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........
II. กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
III. ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
IV. ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น
ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
ก. เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
ข. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
ค. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
ง. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
จ. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
ฉ. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
ช. เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย
ซ. เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

บทที่9 ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เมื่อกล่าวถึง การท่องเที่ยว มักจะนึกถึงผู้เดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวไปเยี่ยมญาติไปพักผ่อน ซึ่งการมองเฉพาะด้านของนักท่องเที่ยว แต่น่าจะต้องประกอบไปด้วยด้านของผู้ให้บริการที่จะคอยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
ปัจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นไปอย่างรวดเร็วจะเห็นได้ว่าหลายประเทศพยายาม นำทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ ทำให้เดรายได้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆจากากรท่องเที่ยวเริ่มเกิดขึ้นอาทิ เช่น การเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวทำให้ประชาชนไปรวมอยู่กันบริเวณแหล่งท่องเที่ยว มีสิ่งกิอสร้างต่างๆ การใช้ทรัพยากรมีมากเกินกว่าสถานที่แห่งนั้นจะรับได้
ผลกระทบจากท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนักท่องเที่ยวย่อมกระจายไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ มากน้อยแตกต่างกัน รายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวออกมาในรูปแบบของเม็ดเงินเด่นชัด เป็นทียอมรับว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนสถานที่ใดก็ตามจะต้องมีการจ่ายเพื่อเป็นค่าบริการ
ด้านบวก
ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)
ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)
ด้านลบ
เราอาจเห็นว่าผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจในงาบวกทั้งสิ้น ซ฿งถ้าเราพิจารณาในแง่ลบแล้วจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
ราคาที่ดินแพงขึ้น
มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
เมื่อมีการพัฒนาการท่องเที่ยวไปยังแหล่งใดก็ตาม ย่อมมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ผลที่ตามมาก็มีทั้งด้านดีและด้านลบ แม้ว่าผลกระทบด้านนี้จะเป็นเรื่องที่ยากเพราะอาจมีลักษณะเป็นนามธรรม
ด้านบวก
เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
ด้านลบ
ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว
ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว
ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์
การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
“การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”
(Tourism is a passport to peace)
ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น
การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงาน
ในเมืองหลวง
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
เราไม่สามารถปฏิเสธว่าสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยปัจจัยต่างๆทำให้เกิดขึ้นโดยฌพาะอย่างยิ่งการติดต่อสัมพันธ์กันปัจจุบันโลกกลายเป็นยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างไกล
ด้านบวก
เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
ช่วยเผยแพร่National Identity(............ลักษณ์ประเทศ)
ผลกระทบอื่นๆ
ด้านลบ
คุณค่าของงานศิลปะลดลง
วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว
วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น
เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น (Demonstration Effect)
การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรม(Demonstration Effect)
 คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่งชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขาบางส่วนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา
 ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน

บทที่13 แนวโน้มและรูปแบบทางการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวทั่วโลกยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าในบางภูมิภาคและบางประเทศจะประสบกับปัญหาทางการเมืองและภัยพิบัติจากธรรมชาติ องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO)

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)

ความหมายและแนวคิด
การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีความจำเป็นในการรักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ และสังคม
แนวคิดการพัฒนาที่ดิน มี4 ประการคือ

1.การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี
2.การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
4.การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ


1.เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก
2.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
3.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า
2.เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
3.เพื่อปกป้องผลกระทบต่างๆ

หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี
2.ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย
3.รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ
4.การประสานงานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5.ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6.การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7.ประชุมปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.การพัฒนาบุคลากร
9.จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10.ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
ความหมาย
สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมายถึงการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบไปยังสถานที่ธรรมชาติซึ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
อาจแบ่งตามประเภทของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่
1.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางยบก
2.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล

กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบก
2.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล






บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระหว่างประเทศ



1.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยรัฐ
ก.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับโลกโดยภาครัฐ
องค์กรที่สำคัญได้แก่

1.1 องค์กรการท่องเที่ยวโลก ( word tourism organization: WTO)
องค์การท่องเที่ยวโลก ป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาล โดยจัดตั้งเป็นองค์กรการที่มีชื่อว่า Internation Union of Tourist Organization ในปี 2468
องค์การท่องเที่ยวโลกมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง ดังนี้


1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
2. เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร
3. เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

องค์กรและหน้าที่ขององค์การท่องเที่ยวโลก ได้แก่
1.สมัชชา (General Assembly)
2.คณะมนตรีบริหาร (Executive Council)
3.สำนักงานเลขาธิการ(Secretariat)
4.สำนักงานเลขาธิการภูมิภาค (Regional Secretariat)
5.คณะกรรมการธิการประจำภูมิภาค(Regional Commissions)

ผู้แทนประจำแต่ละภูมิภาคดูแลจะดำเนินการตามแผนงาน ตามวัตถุประสงค์ที่องค์การท่องเที่ยวโลกกำหนดในด้านเทคนิค ด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ตามแนวทาง 6 ประการ คือ

1.การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (Cooperation for Develepment)
2.การให้ความรู้และฝึกอบรม (Education and Training)
3.ด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผน (Environment and Planning)
4.ด้านสถิติและการวิจัยตลาด (Statisties and Market Research)
5.ด้านคุณภาพในการให้บริการทางการท่องเที่ยว(Quality of Tourism Services)
6.การเป็นผู้ประสานงานและการให้ข้อมูล (Quality and Documentation )

การเข้าร่วมเป็นสมาชิก มี 3 ประเภท คือ
1.สมาชิกสามัญ (Full Member)
2.สมาชิกสมทบ (Associate Member)
3.สมาชิกร่วม (Affliate Member)
2.องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Internation Civil Aviation Organization: ICOA)
โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กร คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก โดยยึดหลักการและกลยุทธ์ในการวางแผนและพัฒนาการขนส่งทางอากาศ ดังนี้
ข.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคโดยภาครัฐ
ค.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับอนุภูมิภาคโดยภาครัฐ

1.โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
(Economic Cooperation in the Greater Mekong Sub region - GMS)

2.โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุทวีปบังคลาเทศ-อินเดีย+เมียนมารื+ศรีลังกา+ไทย
(Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation : BIMST-EC)
บทบาทและหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวของ BIMST-EC มีดังนี้

1.ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวภาคนอกจากภูมิภาคเดินทางเข้ามาภูมิภาคมากขึ้น
2.ส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกในอนุทวีป
3.เพิ่มพูนด้านความร่วมมือการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมกับประเทศในกลุ่มสมาชิก
4.ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น พัฒนาตลาดท่องที่ยวรูปแบบ MICE เข้าสู่ภูมิภาค
5.ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

3.โครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา เป็นโครงการความร่วมมือของ 7 ประเทศได้แก่ กัมพูชา จีน เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม ไทย และอินเดีย โดยตกลงให้ร่วมมือกันในด้านวัฒนธรรม การศึกษา การสื่อสาร/การคมนาคม และการท่องเที่ยว ในด้านการท่องเที่ยวได้ตกลงที่จะร่วมมือกันตามสาระสำคัญ

4.โครงการพัฒนาเขตเศรษฐีสามฝ่ายอินโดนิเซีย-มาเลเซีย-ไทย (LMT-GT) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และที่ตั้งภูมิศาสตร์ใกล้ชิดกันประกอบ ด้วยประเทศสมาชิก

1.คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน
(Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assoction of Southeast Asian Nations) หรือที่นิยมเรียกกันโดยย่อว่า “สมาคมอาเซียน”
คณะอนุกรมการดำเนินการด้านการท่องเที่ยว

สมาชิกของคณะอนุกรรมการที่ดำเนินการด้านการท่องเที่ยว (SCOT) ประกอบไปด้วยหกหน่วยงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติของประเทศกลุ่มอาเซียน ประกอบด้วย

คณะอนุกรรมการดำเนินการด้านการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์หลัก คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว

คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยว แบ่งงานออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1. กิจกรรมการตลาด เป็นกิจกกรมแสวงหาตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน
(ASEAN Promotion Chapter) มีคณะทำงานด้านตลาดรับผิดชอบดำเนินงานในการโฆษณาเผยแพร่การท่องเที่ยว
2. กิจกรรมการวิจัยและพัฒนา การสำรวจ มีคณะทำงานด้านวิจัยในข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ของสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกประกอบกันจาก 3 มิติได้แก่
-กิจกรรมระดับโลก
-โปรแกรมและการดำเนินงานเบื้องต้นในระดับภูมิภาค
-ภาระงาน

2.สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA)
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ในกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา
3.สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ (International Congress and Convention Association: ICCA)สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ ก่อตั้งในปี ค.ศ.1963 ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม
4.องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว (Tourism Concern)องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นในปีค.ศ 1989 มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
5.สหพันธ์สมาคมบริษัทนำเที่ยวนานาชาติ (Universal Federation of Travel Agent : UFTAA) สหพันธ์สมาคมบริษัทนำเที่ยวนานาชาติ เป็นสมาคมที่ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1966






บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

สำหรับกฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1.1พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2552
1.2พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
1.3พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
1.4พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเทียว

มีกฎหมายสำคัญจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
2.1พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522,2523และ2542
2.2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ถึง 2548

3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
3.1พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2524
3.2พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535และ2546
3.3พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ2528
3.4พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ 2484 ,2522 ,2525
3.5พระราชบัญญัติแร่พ.ศ 2510,2522และ2534
3.6ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ 2520
3.7พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ 2485
3.8พระราชบัญญัติรักษาคลองรศ.121
3.9พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535 3.10พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ 2535
3.11พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ 2505
3.12พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ2528
3.13พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก ในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128
3.14พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ 2490และ 2528
3.15พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512,2522และ2535
3.16พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชานเมือง พ.ศ 2535
3.17พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ 2518,2525และ2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาการ พ.ศ2522,2535และ2543

4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเทียว
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 22 ฉบับ ได้แก่
4.1พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ2535
4.2พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ2547
4.3พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ2509,2521,2525,2546
4.4พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ 2535
4.5พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ2528,2537และ 2544
4.6พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ2535
4.7พระราชบัญญัติลิขสิทธิพ.ศ2520,2534,2544
4.8พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพ.ศ 2511 ถึง 2548
4.9พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ2542
4.10พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522 และ 2541
4.11พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ 2494 ถึง 2543
4.12พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ2522 ภึง 2546
4.13พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ 2522 ถึง 2542
4.14พระราชบัญญัติรถยนต์ พศ.2522 ถึง 2527
4.15กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515
4.16พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ 2494 ถึง 2543
4.17พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ 2456 ถึง 2540
4.18ประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ2515
4.19พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ 2481 ถึง 2540
4.20พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ 2522
4.21พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ 2497 ถึง 2542
4.22พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ 2522 ถึง 2538




วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่7ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทรเวล เอเจนซี่ (travel agency)
ความหมายของทราเวลเอเจนซี่
ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความสหมายของแทรเวลเอเจนซี่ไว้ดังนี้
Travel agency: a retail business authorized to sell travel products on behalf of vendors such as airlines, rail companies, and lodging establishments.
(foster, 1994:371)
แทรเวลเอเจนซี่ หมายถึงธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบการธุรกิจ เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ และสถานที่พักแรม
Travel agency: business that helps the public with their travel plans and needs.
(mancini, 2005:7)
บทบาทหน้าที่ของแทรเวลเอเจนซี่
1) จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2) ทำการจอง
3) รับชำระเงิน
4) ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5) ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6) ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7) ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
1. จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
แทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดหาราคาต่างๆเช่นค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ราคาห้องพักของโรงแรม ราคารถเช่า ราคาทัวร์แบบเหมาจ่าย ราคาค่ารถไฟหรือรถประจำทาง ค่าประกันภัยเป็นต้น
2. ทำการจอง
หน้าที่ลำดับที่สองคือ ทำการจอง โดยทั่วไปการจองบัตรโดยสารเครื่องบินจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนเส้นทางการบินและการต่อเครื่องบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในการจองบัตรโดยสารเครื่องบินแทรเวลเอเจนซี่ต้องการข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
2.1จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อและนามสกุล
2.2เบอร์โทรศัพท์
2.3ที่อยู่ทางไปรษณีย์
2.4ชื่อผู้จอง
2.5ข้อมูลความต้องการบริการพิเศษ
2.6วันที่ออกบัตรโดยสาร
2.7รูปแบบการชำระเงิน
3. รับชำระเงิน
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ได้รับการรองรับจาก arc จะได้รับอนุญาติให้รับชำระเงินค่าบัตรโดยสารได้ทุก ๆ สัปดาห์ แทรเวลเอเจนซี่จะต้องส่งรายงานให้กับ arc เกี่ยวกับจำนวนบัตรโดยสารที่ขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายรายได้จากการขายบัตรโดยสารจะต้องนำเข้าบัญชีพิเศษที่เรียกว่า settlement account
1.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
แทรเวลเอเจนซี่มีหน้าที่จัดส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารเกี่ยวกับการเดินทางอย่างไรก็ตามโดยทั่วไปลูกค้าส่วนใหญ่มักจะไปรับบัตรโดยสารเอง
2.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
แทรเวลเอเจนซี่ส่วนใหญ่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆนอกเหนือจากการขายบัตรโดยสารเครื่องบิน สินค้าและบริการเหล่านั้นได้แก่
• ทัวร์แบบเหมาจ่าย(package tours)
• เรือสำราญ(cruises)
• โรงแรม(hotel)
• ค่าเช่ารถ(car rentals)
• ค่าทัศนาจร(sight-seeing excursions)
• ค่าโดยสารรถประจำทาง(bus transportation)
• ค่าประกันภัยในการเดินทาง(travel insurance)
• ค่าโดยสารรถไฟ(rail transportation)
1.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
แทรเวลเอเจนซี่ ที่ไม่ได้เน้นการขายบัตรโดยสารเครื่องบินอาจไม่สามรถออกบัตรโดยสารเอง แต่จะซื้อบัตรโดยสารจากเอเจนซี่อื่น หรือจากสายการบิน
2.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ในสหรัฐอเมริกาการจะขายบัตรโดยสารเครื่องบินได้นั้นแทรเวลเอเจนซี่จะได้รับการรับรองจาก arc และการบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศจะต้องได้รับการรับรองจากIATAในการที่จะได้รับการรับรองเอเจนซี่ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1) มีผู้จัดการที่ทำงานเต็มเวลา ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่arcต้องการ
2) จะต้องมีพนักงานอย่างน้อย 1 คน ที่มีประสบการณ์ในการออกบัตรโดยสารมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีในช่วงเวลา3ปีที่ผ่านมา
3) จะต้องมีเงินประกัน หรือจดหมายรับรองสถานภาพการเงินซึ่งตรงตามเงื่อนไขของARC
ประโยชน์ของการใช้บริการของแทรเวลเอเจนซี่
• แทรเวลเอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและการวางแผนท่องเที่ยว
• แทรเวลเอเจนซี่สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
• แทรเวลเอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
• แทรเวลเอเจนซี่ช่วยแก้ไขปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
• แทรเวลเอเจนซี่รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
• แทรเวลเอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวลเอเจนซี่
เมื่อประมาณ3ทศวรรษที่ผ่านมา แทรเวลเอเจนซี่จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงโดยมักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภทโดยอาจสรุปได้ 4ประเภทคือ
1) แบบที่มีมาแต่เดิม( a conventional agency)
2) แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต(online agencies)
3) แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง(specialized agencies)
4) แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก(home based agencies)
I. แบบที่มีมาแต่เดิม
แทรเวลเอเจนซี่ ประเภทนี้มักขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและเต็มรูปแบบเช่นขายบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก บริการเช่ารถ บัตรโดยสารรถไฟ เรือสำราญ โปรแกรมทัวร์แทรเวลเอเจนซี่พวกนี้อาจแบ่งย่อยได้อีกตามลักษณะการบริหารการจัดการ
1.1แทรเวลเอเจนซี่เป็นเครือข่าย
1.2แทรเวลเอเจนซี่แบบแฟนไชส์
1.3แทรเวลเอเจนซี่อาจเกี่ยวข้องกันในลักษณะของคอนซอเตียม
1.4แทรเวลเอเจนซี่แบบอิสระ
II. แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ตเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ10ปีที่ผ่านมาเอเจนซี่ประเภทนี้ประกอบธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ตและบางครั้งอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์บ้าง
III. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
เอเจนซี่แบบอิสระ และแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของคอนซอเตียม พบว่าอาจจะทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะทาง เช่น ตลาดนักธุรกิจ ตลาดเรือสำราญ ตลาดลูกคาระดับสูงเป็นต้น
IV. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก
ในปัจจุบันที่ธุรกิจต่าง ๆสามารถทำได้โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบการแทรเวลเอเจนซี่อาจจะปรับเปลี่ยนบ้านหรือที่พักเป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงาน ละไม่ต้องใช้งบประมาณสูง
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัท
1) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ทัวร์ที่มีการวางแผนอย่างดี และจัดได้ดีจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวและชมสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้เวลาอย่างเหมาะสมและได้รับความสะดวกสบาย
2) ประหยัดค่าใช้จ่าย
บริษัททัวร์มีบทบาทเป็นผู้ขายส่ง โดยจะมีการซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวในปริมาณมาก เช่น มีการจองห้องพักและที่นั่งโดยสารเครื่องบินในปริมาณมากเพื่อมาทำโปแกรมทัวร์
3) ได้ความรู้
จากการศึกษานักท่องเที่ยวที่เดินทางกับบริษัททัวร์พบว่า นักท่องเทียวกล่าวถึงว่าได้ความรู้เป็นประเด็นสำคัญในการเดินทางกับบริษัททัวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัคคุเทศก์ที่ดีมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้มากกว่าอ่านหนังสือนำเที่ยว
4) ได้เพื่อนใหม่
นักท่องเที่ยวที่ซื้อโปรแกรมทัวร์ประเภทเดียวกันมักจะมีความสนใจที่เหมือนกานและมีสถานภาพทางเศษฐกิจและสังคมในระดับใกล้เคียงกัน
5) ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
นักท่องเที่ยวที่ซื้อโปรแกรมทัวร์ไปยังสถานที่ต่างๆที่ที่ไม่คุ้นเคยอาจจะทำให้ขาดความมั่นใจและเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย การเดินทางไปกับทัวร์จะทำให้รู้สึกสบายใจว่ามีมัคคุเทศน์คอยดูแลและรู้สึกปลอยภัย
6) ไม่มีทางเลือกอื่น
บางครั้งการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสำคัญอาจจะทำให้หาที่พักได้ยากนักท่องเที่ยวจึงหันมาซื้อโปรแกรมทัวร์เนื่องจากบริษัททัวร์มักจะมีห้องพักที่จองไว้แล้วเนื่องจากบริษัททัวร์มักจะมีการจองห้องเป็นจำนวนมาก
ประเภทของทัวร์
ทัวร์แบบเหมาจ่ายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้3ประเภท
• ทัวร์แบบอิสระ(independent tour)
• ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว(hosted tour)
• ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว(escorted tour)
1. ทัวร์แบบอิสระ(independent tour)
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางทอ่งเที่ยวแบบอิสระ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน และการบริการรถรับส่งจากสนามบินหรือรถเช่าทัวร์แบบอิสระจะทำให้นักท่องเที่ยวมีเสรีที่จะวางแผนกิจกรรมต่างๆ
2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว(hosted tour)
หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์ ณแหล่งท่องเที่ยว ตัวแทนบริษัททัวร์จะเข้ามาพบนักท่องเที่ยวเพื่อให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว(escorted tour)
หมายถึงโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทางทัวร์ประเภทนี้นักท่องเที่ยวจะเดินทางเป็นกลุ่มโดยจะมีมัคคุเทศก์ร่วมเดินทางไปด้วย ทัวร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก
บริษัทรับจัดการประชุม
เนื่องจากตลาดการประชุมทั้งในและนอกประเทศมีการเติบโตสูงในช่วง20ปีที่ผ่านมาจึงได้เกิดธุรกิจใหม่ที่ให้การบริการด้านการจัดการประชุมซึ่งธุรกิจนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สำคัญของธุรกิจโรงแรม
บริษัทรับจัดการประชุมมีหน้าที่ดังนี้
 เลือกสถานที่สำหรับการประชุม
 จองห้องพัก
 จองห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม
 ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
 ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด
 ประสานงานกับวิทยากรหรือผู้รับเชิญ
 ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
 บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
 ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง