วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ (ATMs) เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)
“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (onetoo many)
ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
•คือ การที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคา ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทน จำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
•ทำ ให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่าง
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
VS
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์
www.airasia.com
www.thaiairways.com
ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่8
ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุสาหกรรมการท่องเที่ยว
นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้วยังมีธุรกิจอื่นๆดำนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่าง ๆ แก่ นักท่องเที่ยวเช่น การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศุนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่น ๆ
ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ความหมายของธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจที่พักและธุรกิจขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องรับประทานอาหารในระหว่างการท่องเที่ยวหรือการเดินทาง
ในปลายศตวรรษที่ 18 ที่ห้องอาหารในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า ภัตตาคารได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเน้นการบริการอาหารประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบา
การจำแนกปะเภทของธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีร้านอาหารและภัตตาคารต่าง ๆ มากมายไว้บริการแก่ลูกค้า จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการจำแนกประเภทของร้านอาหารอย่างชัดเจน แม้นแต่ในโรงแรมเองก็มีการบริการอาหารหลายประเภทหลายระดับ
ทั้งนี้เราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน
เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่ง
รับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่
เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป
ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรง
ทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก
4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพ
เน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่
เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย
5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย
เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว
ๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น ดังนั้นการฝึกฝนให้พนักงานบริการอย่างรวดเร็วจึงค่อนข้างจำเป็น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ
มาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ จึงทำให้ต้องลงทุนสูงกว่าภัตตาคารหรือร้านอาหารประเภทอื่นๆเพื่อชื่อเสียงของร้านและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ
เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ พนักงานเน้น
ลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ
อาหารไทย
อาหารไทยถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีตเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่ก็มักต้องการลิ้มรสอาหารไทยแบบดั่งเดิมดูสักครั้ง
อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยอุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงแวดล้อมไปด้วยพืชพรรณธรรมชาตินานาชนิด ภาคเหนือยังมีคนไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่จึงมีความหลากหลายทางวัมนธรรม และยังคงใกล้ชิดธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งผลให้อาหารทางเหนือยังใช้พืชตามป่าเขาและพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารแบบขัยโตก อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวานจะมาจากผัก เช่นการนำผักมาผัดหรือต้มให้นุ่มก่อนรับประทาน เช่นแคปหมูใช้รับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยวก่อนรับประทาน
อาหารไทยภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเล อาชีพของชาวใต้ก็คือชาวประมงอาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา จะมีกลิ่นคาวจัดใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้หลายชนิดที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั่งอยู่บนพื้นที่ที่ราบสูง กักเก็บน้ำได้ไม่ดีจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ โดยทั่วไปคนอีสานชอบอาหารรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว จึงมีการถนอมอาหาร เช่นปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู เป็นต้น
การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มนิยมหันไปทำธุรกิจในลักษณะที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือตามที่ วินิจ วีรยางกูรได้สรุปไว้ดังนี้
1) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง
2) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
3) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพสูง
4) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทรับประทานแล้วทิ้งเลย
5) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงอาหารไม่ซับซ้อน
ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1) อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานตั้งแต่8.00-9.00เป็นเป็น2ประเภทคือ
1.1อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
1.2อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ
2) อาหารก่อนกลางวัน คือรับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่9.30-11.30
3) อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4) อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)
ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้

5) อาหารเย็น ( Dinner)เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)
-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6) อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก
การจัดการและการตลาด (Management and Marketing
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion)ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึกShopping and Souvenir Business
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยว
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้า
ห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคาร
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
I. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........
II. กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
III. ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
IV. ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น
ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
ก. เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
ข. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
ค. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
ง. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
จ. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
ฉ. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
ช. เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้ง่าย
ซ. เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ - สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค - ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย - ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจนันทนาการประกอบด้วย
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)
ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น