วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การเดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต














จังหวัดภูเก็ต
ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง
สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม



ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต

ประวัติความเป็นมาจังหวัดภูเก็ต
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณเกาะภูเก็ตได้มีการเรียกขานกันมาหลายชื่อ ได้แก่ แหลมตะโกลา มณีคราม จังซีลอน ภูเก็จ (ซึ่งหมายถึงภูเขาแก้ว) จนกลายเป็นคำว่า “ภูเก็ต” เป็นเมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ 1 พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ.2328 โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสองเป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

ภูมิอากาศ
ภูเก็ตมีอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน ฤดูร้อนเริ่มเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส

อาณาเขต :
ทิศเหนือ จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานเทพกระษัตรี
ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดภูเก็ต
- ประตูเมืองสู่ภูเก็ต (Phuket Gateway)
- พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว Phuket Thaihua Museum
- อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง)
- หาดป่าตอง
- ภูเก็ตแฟนตาซี
- ตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส
- จุดชมวิว 3 หาด
- หาดกะตะ-กะรน
- หาดในหาน
- แหลมพรหมเทพ
และสถานที่อื่นอีกมากมาย


ตำนานสะพานรักสารสินแห่งเมืองภูเก็ต
สะพานสารสินเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ เมื่อมีโศกนาฏกรรมของหนุ่มสาว 2 คนที่ตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 และได้นำเรื่องราวของคนทั้งสองมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ "สะพานรักสารสิน"สะพานรักสารสิน เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มหญิงสาวที่แตกต่างกัน ด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ฝ่ายหญิงชื่อ "อิ๋ว" เป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายชื่อ "โกไข่" เป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง พ่อเลี้ยงอิ๋วแบบเผด็จการไม่ให้อิสระ และต้องการให้แต่งงานกับคนมีฐานะ จึงถูกขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้รักของเธอและเขาสมหวังความรักที่เหมือนนิยายน้ำเน่าของหนุ่มขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง ที่มีฐานะยากจนมาก แต่กลับไปหลงรักกับหญิงสาวที่มีฐานะสูงส่งและมีพื้นฐานครอบครัวที่เผด็จการ ไม่ให้อิสระทางความคิดกับลูกสาว แม้ว่าลูกสาวโตจนมีอาชีพเป็นครูแล้วก็ยังถูกกีดขวางจากผู้เป็นพ่อ ที่พยายามจะคลุมถุงชนลูกสาวให้แต่งงานกับชายหนุ่มที่มีฐานะดี และพยายามขัดขวางทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ลูกสาวได้คบกับโกไข่ หนุ่มขับรถสองแถว หลังจากที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะพิสูจน์ให้ผู้เป็นพ่อได้เห็นถึงความตั้งใจและความรักที่ทั้ง 2 มีให้แก่กัน แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่เป็นผล เมื่อผู้เป็นพ่อของฝ่ายหญิงไม่ยอมเปิดใจรับ หลายครั้งที่อิ๋วฝ่ายหญิง ถูกผู้เป็นพ่อทุบตีเยี่ยงสัตว์เพราะแอบมาพบเจอกับโกไข่ หนุ่มขับรถสองแถว และผู้เป็นพ่อก็พยายามทุกวิถีทางที่จะยัดเยียด ลูกสาวให้กับเศรษฐีมีเงิน ชาวบ้านท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต ต่างก็ทราบดีถึงความรักที่มีอุปสรรคของหนุ่มสาวทั้งสอง หลายคนพยายามแนะนำให้โกไข่เลิกกับครูอิ๋ว เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของทั้งคู่ และผู้ใหญ่หลายคนพยายามพูดคุยกับพ่อของครูอิ๋ว เพื่อที่จะให้ยอมรับโกไข่ เป็นลูกเขย แต่ไม่ได้รับการยินยอม ไม่ว่าจะทำด้วยวิถีทางใด ในที่สุดเมื่อความรักถึงทางตัน 22 กุมภาพันธ์ 2516 โกไข่ นายหัวรถสองแถวและครูอิ๋ว สาวผู้สูงศักดิ์ ก็ได้ตัดสินใจเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานลงสู่พื้นน้ำ ทิ้งเรื่องราวความรักที่เป็นอมตะ ให้ผู้คนได้กล่าวขานถึงปัจจุบันนี้
ตำนานรักสะพานสารสิน เป็นบทเรียนแห่งความรักอีกบทหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในตำนานคู่เมืองภูเก็ต แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปสักกี่ยุคกี่สมัย ตำนานเหล่านี้ก็ต้องบันทึกไว้และเป็นบทเรียน ที่ทุกคนควรศึกษาและเข้าใจความหมายของคำว่า รักที่แท้จริง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป






สะพานสารสิน





แผนที่จังหวัดภูเก็ต



- วัดฉลองวัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป จากเรื่องราว ความศักดิ์สิทธิ์ และคุณความดี ของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในการเป็นที่พึ่ง ให้แก่ชาวบ้าน ในการต่อสู้กับพวกอั้งยี่ (พวกจีนที่ก่อการกบฏ) ตั้งอยู่ห่างจาก
แหลมพรหมเทพประมาณ 16 กิโลเมตร


หาดกะตะเป็นชายหาดที่อยู่ระหว่างหาดกะตะน้อยและหาดกะรน โดยใช้เวลาเดินทางเพียงไม่กี่นาทีระหว่างทั้งสามหาด หาดกะตะเป็นชายหาด ที่มีชื้อเสียงแห่งหนึ่งของภูเก็ต มีเม็ดทรายสีขาวและละเอียดสวยงาม บริเวณชายหาดมีต้นปาล์มขึ้นเป็นแนวตามชายหาด สวยงามเป็นที่นิยม พักผ่อนของชาวต่างชาติ
บริเวณชายหาดมีบ้านพัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า แหล่งบันเทิง ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน

- หาดในหานเป็นหาดที่อยู่ถัดจากแหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนือ ใกล้ๆหาดจะมีบึงขนาดใหญ่อยู่ ซึ้งชาวบ้านเรียกว่าหนองหาน หาดในหาน เป็นชายหาดทีมีความยาวพอสมควร เมื่อเทียบกับอ่าวเสนซึ้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เป็นที่นิยมสำหรับนอนอาบแดดของชาวต่างชาติ หาดทรายไม่ขาวมากแต่มีเม็ดทรายเล็กละเอียด มีแหล่งขายของที่ระลึกในบริเวณรอบ ใกล้ๆกับหาดในหานนี้ยังมีอ่าวเล็กๆ ซึ้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง คืออ่าวเสน ในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมี คลื่นแรงมาก ไม่เหมาะสำหรับการลงเล่นน้ำ


แผนที่แสดงสถานที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวและการเข้าถึง

แผนที่แสดงที่ตั้งแหลมพรหมเทพ

ความประทับใจ
แหลมพรหมเทพ ถูกจัดเป็นหนึ่งในโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุดเด่นคือ "ชมพระอาทิตย์ตกทะเล สวยที่สุดในประเทศไทย"
ในบรรดาสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่ขึ้นชื่อของเมืองไทย เชื่อแน่ว่านักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยคงต้องนึกถึง “ แหลมพรหมเทพ ” ที่จังหวัดภูเก็ต เพราะมีหลายสิ่งที่แตกต่างไปจากที่อื่นๆ แหลมพรหมเทพถือว่าเป็นสถานที่ โรแมนติกแห่งหนึ่งของเกาะภูเก็ต หลายคู่มักชวนกันมานั่งชมพระอาทิตย์ตก ดื่มด่ำกับบรรยากาศใน ยามเย็นที่มองเห็นคลื่นแต่ไกล ปล่อยความรู้สึกไปกับทะเลที่ระยิบระยับอันกว้างไกล มีท้องฟ้า อยู่เบื้องหน้า มองเห็นดวงอาทิตย์ลูกกลมสีแดงสดค่อยๆทอดตัวลงแตะขอบน้ำแล้วก็จมหายไป สิ่งสำคัญที่อยู่บนแหลมพรหมเทพอีกอย่างก็คือ ประภาคาร ซึ่งเป็นหอคอยสูง กลางคืนจะเปิดไฟส่องวับวาบ ให้สัญญาณกับเรือที่กำลัง แล่นอยู่กลางทะเล ประภาคารนี้ได้สร้างขึ้นมาใหม่ในช่วงเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก 50 ปี มีชื่อว่า “ ประภาคารกาญจนาภิเษก ” และตรงจุดนี้ก็เป็นที่รายงานเวลาพระอาทิตย์ตกของประเทศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในช่วงข่าวตอนเย็นๆ

แหลมพรหมเทพสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ทุกครั้งที่มาเที่ยวอาจเห็นภาพและบรรยากาศที่แตกต่าง กันออกไป หากวันใดมีฟ้าใสไร้เมฆ ก็จะเห็นภาพอาทิตย์ลูกกลมๆสวยงาม หรือหากวันใดมีเมฆมากก็จะเห็นภาพไปอีกแบบหนึ่ง การมาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่จึงเห็นความงดงามที่ไม่ซ้ำกัน

จากการเดินทางไปสำรวจทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของแหลมพรหมเทพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2553 สภาพฤดูฝน ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุม แต่การเดินทางครั้งนี้ก็ไม่สูญเปล่า บรรยากาศที่แหลมพรหมเทพยังมีความสวยงามและโรแมนติกไปอีกแบบหนึ่ง ถึงแม้นักท่องเที่ยวจะลดน้อยลงแต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวบางส่วนเดินทางมาอย่างไม่ขาดสาย บางคนยังไม่เคยไปสัมผัสความงามของแหลมพรหมเทพแต่บางคนไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ยังคงรู้สึกตื่นเต้นและประทับใจจนต้องกลับมาอีก

การเสริมบริการ
แหลมพรหมเทพเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุดของจังหวัดภูเก็ต หลังจากที่เดินทางท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆในช่วงกลางวันสถานที่สุดท้ายก่อนที่จะไปท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศยามค่ำคืน คงจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจากแหลมพรหมเทพ

สิ่งอำนวยความสะดวก

เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่านักท่องเที่ยวยามเดินทางห่างไกลจากบ้าน ต้องการสิ่งจำเป็นหลายอย่างในการตอบสนองความต้องการของชีวิตต้องการที่พัก อาหาร การบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการเดินทาง

จากการสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวของแหลมพรหมเทพมีการอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆแกนักท่องเที่ยวดังนี้

1.ที่พัก เนื่องจากแหลมพรหมเทพเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยามเย็นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางแบบไปกลับในบริเวณพื้นที่แหลมพรหมเทพจึงไม่มีสถานที่พัก แต่หากนักท่องเที่ยวสนใจและต้องการสามารถเดินทางไปที่หาดในหานซึ้งตั้งอยู่ห่างจากแหลมพรหมเทพ 2 กิโลเมตรและหาดราไวย์ ระยะห่างประมาณ 2 กิโลเมตรเช่นกันซึ่งจะมีที่พักไว้คอยให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างหลากหลายแบบ หลายราคา ตามแต่สะดวก
แนะนำโรงแรม

-โรงแรม เดอะ รอยัล ภูเก็ต ยอชต์ คลับ (The Royal Phuket Yacht Club Hotel) ระยะห่าง 1.38 กิโลเมตร


-โรงแรม เดอะ รอยัล ภูเก็ต ยอชต์ คลับ (The Royal Phuket Yacht Club Hotel) ระยะห่าง 2.69 กิโลเมตร


ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
นักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายเป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าปกติเมื่อเดินทางท่องเที่ยว การจัดอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ต้องมีทั้งอาหารประจำชาติของนักท่องเที่ยว และอาหารท้องถิ่น เพราะอาหารทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ บริเวณแหลมพรหมเทพจะมีร้านอาหารเพียงแห่งเดียวไว้บริการ


ร้านอาหารแหลมพรหมเทพ
ร้านอาหารแหลมพรมเทพ จัดรายการอาหารให้คุณเลือกหลากหลาย พร้อมรื่นรมย์กับบรรยากาศยามพระอาทิตย์อัสดง ท่ามกลางความสดชื่นของกลิ่นอายทะเล และแมกไม้ ในแต่ละมุมของร้าน ได้จัดขึ้น โดยคำนึงถึงเรื่องความใกล้ชิด ธรรมชาติ เหมาะสำหรับเป็น สถานที่พบปะสังสรรค์ เนื่องในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน มงคล สมรส งานฉลองรับ ปริญญา งานวัน คล้าย วัน เกิด เมนูมีทั้งอาหารไทย จีน ยุโรป และ อาหารทะเลรสเลิศ ต้องเหมาะกับบรรยากาศ สัมผัสลมทะเลยามเย็น สุดจะโรแมนติก โทร 076 288656, 076 288084









นอกจากนี้ยังมีร้านค้าแบบรถเข็ญอยู่ด้านล่าง จะจำหน่ายอาหารจำพวก ปลาหมึกย่าง ลูกชิ้นปิ้ง ขนมต่างๆ นักท่องเที่ยวชาวไทยจะนิยมซื้อไปรับประทานขณะนั่งชมพรอาทิตย์ตก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังแหลมพรหมเทพจะนิยมไปรับประทานอาหารที่บริเวณหาดราไวย์เนื่องจากมีร้านอาหารให้เลือกมากมายและบรรยากาศดีไม่แพ้แหลมพรหมเทพ

ร้านจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก
สินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นของที่ระลึก เช่นผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย โมบาย กรอบรูปต่างๆ เสื้อผ้าบาติกและสินค้านานาชนิด





ร้านขายของที่ระลึก นอกจากเป็นการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชาติด้วย จากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1993 นักท่องเที่ยวดังกล่าว ใช้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าจำนวนสูงสุดร้อยละ 42.76 คิดเป็นจำนวนเงิน 54,650 ล้านบาท (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2537:15)

สภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยว
เป็นแหลมที่ยื่นออกไปสู่ทะเล อยู่ระหว่างหาดไนหานและหาดราไวย์ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยม มาชมพระอาทิตย์ตกทะเล หญ้าที่ขึ้นบนแหลมฤดูฝนจะเป็นสีเขียว ฤดูแล้งจะเป็นสีเหลืองทองเมื่อกระทบกับแสงแดดยามลับขอบฟ้า และมีต้นตาลขึ้นตามธรรมชาติบริเวณแหลมด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น