วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่13 แนวโน้มและรูปแบบทางการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวทั่วโลกยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าในบางภูมิภาคและบางประเทศจะประสบกับปัญหาทางการเมืองและภัยพิบัติจากธรรมชาติ องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO)

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)

ความหมายและแนวคิด
การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีความจำเป็นในการรักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ และสังคม
แนวคิดการพัฒนาที่ดิน มี4 ประการคือ

1.การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี
2.การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
4.การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ


1.เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก
2.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
3.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า
2.เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
3.เพื่อปกป้องผลกระทบต่างๆ

หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี
2.ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย
3.รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ
4.การประสานงานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5.ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6.การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7.ประชุมปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.การพัฒนาบุคลากร
9.จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10.ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)
ความหมาย
สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมายถึงการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบไปยังสถานที่ธรรมชาติซึ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
อาจแบ่งตามประเภทของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่
1.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางยบก
2.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล

กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางบก
2.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น