วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต


395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
395 Years Pinto’s Pérégrinação : an Account of Historiography or
Adventurous Novel








ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”




งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531: 115) เป็นต้น
ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้(Henry Cogan, 1653 :1-2) ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B)
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน (จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1,2510 : 502) ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์



คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช(ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม
เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น นอกจากนี้ อี.ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน(E.W. Hutchinson) ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า
“ทหารโปรตุเกสจำนวน 120 คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษา
พระองค์(bodyguards)ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่”



บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว

"ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว"

"การท่องเที่ยว" หลายคนอาจนึกถึงคำว่า การเดินทาง ไปเยี่ยมสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อไปร่วมกิจกรรมบางอย่าง จะพบว่าการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการเดินทางแต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การเดินทางไม่ใช่การท่องเที่ยวเสมอไป

ความหมายของการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวนั้นนิยามความหมายได้ยาก เพราะการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบของนันทนาการ การท่องเที่ยวนั้นจะต้องมีจุดประสงค์ การท่องเที่ยวต้องมีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพ
และการหารายได้

นักท่องเที่ยว (Tourist)

คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง

นักทัศนาจร (Excursionist)
คือ ผูมาเยือน และพักอาศัยชั่วคราว ณ สถานที่ที่ไปเยื่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ

กลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่
ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
• ผู้ที่มีสัญชาติประเทศนั้น หรือเดิมเป็นคนถิ่นนั้นแต่ไม่ได้อาศัยอยู่
• ผู้ที่เป็นลูกเรือ

กลุ่มนักทัศนาจร ได้แก่
ผู้มาเยือนขาเข้า
• ผู้มาเยือนขาออก
• ผู้มาเยือนภายในประเทศ

วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว
สามารถแบ่งออกได้ 3 ประการใหญ่ๆ ได้แก่
• เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและผักผ่อน
• เพื่อธุรกิจ
• เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และพักผ่อน
เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ต้องการความเพลิดเพลิน สนุกสนาน รื่นเริง นักท่องเที่ยวต้องการหลีกหนีความจำเจของชีวิตประจำวัน เพื่อไปชมหรือสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่


การเดินทางเพื่อธุรกิจ
เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ที่ไปท่องเที่ยวนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการเดินทางเพื่อเข้าประชุม สัมมนา ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดนิทรรศกาล หรือเรียกว่า MICE
การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
เป็นการเดินทางโดยวัตถุประสงค์เฉพาะ ที่นอกเหนือจากการเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินหรือธุรกิจ

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว

บทที่ 2

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้น
ถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์มากมายที่จะต้องจดจำและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
สรุปได้ว่าในสมัยอาณาจักรโรมันการท่องเที่ยวมีทั้งการท่องเที่ยวภายในประเทศ และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แต่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศนั้นเป็นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดนเพราะไม่มีอาณาเขตแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นดินแดนของอังกฤษ หรือ ซีเรีย อย่างในปัจจุบัน เพราะอาณาจักรโรมันครอบคลุมไปถึงทั้งหมด ทุกแห้งใช้เงินตราของโรมัน ท้องทะเลปลอดจากพวกโจรสลัด เพราะมีการล่าตระเวนของทหารโรมัน ภาษาละตินก็เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น Itineraria ประกอบด้วยรายชื่อของพักพร้อมทั้งสัญลักษณ์ที่บอกเกรดของที่พักเหล่านั้น ทำนองเดียวกับที่ Michelin Guides ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อที่น่าสังเกต อีกประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นมีลักษณะขั้นตอนของระเบียบทางราชกาลให้เห็นอยู่เหมือนกัน



การท่องเที่ยวในยุคกลาง

ยุคกลาง คือ ช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ.500-1500 หรือเป็นช่วงที่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน แต่ก่อนจะเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุคกลางเรียกอีกอย่างว่า ยุคมืด ช่วงเวลาดังกล่าวถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเศรษฐกิจตกต่ำแต่ศาสนจักรโรมันคาทอลิค ยังคงเป็นศูนย์รวมของสังคมและอำนาจการเดินทางมีความลำบากมากขึ้นและอันตรายมากขึ้น ทำให้ผู้คนเดินทางกันในระยะสั้นๆ ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ผลของการเดินทางเพื่อจารึกแสวงบุญมีประเด็นสำคัญที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. มีเป้าหมายของการเดินทางที่เด่นชัดได้แกรแสวงบุญ
2. ผลการเดินทางมีความสำคัญและความหมายทางด้านจิตใจเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งชีวิต
3. ผู้แสวงหาบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทางในรูปของที่ระลึก



แกรนด์ทัวร์

ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเสรีภาพและความต้องการที่จะเรียนรู้ในยุคฟื้นฟูศิลปซิทยาการ ยุคที่มีระยะเวลาประมาณ 300 ปี เริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 และสิ้นสุดลงในราวศตวรรษที่ 17 โดยมีอิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดและเป็นฉบับให้ประเทศเพื่อนบ้านคือ ฝรั่งเศษ เยอรมัน ยุโรปเหนือและ อังกฤษตามลำดับ
ในปีค.ศ.1749 Dr.Thomas Nugent ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวออกมาให้ชื่อว่า The Grand Tour หนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้นนักเดินทางใจกล้าบางคนเดินทางไปไกลถึงประเทศอิยิปต์ ภึงแม้ว่าจุดประสงค์ของการเดินทางแบบ Grand Tour




การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่

การอาบน้ำแร่ หรือ Spa เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่ยุคโรมันโดยเชื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยา แต่ความนิยมการไปอาบน้ำแร่ได้ลดลงในยุคหลังๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าความนิยมจะลดลงอย่างสิ้นเชิง เพราะคนที่เจ็บป่วยก็ยังคงเดินทางไปยังเมือง Bath ตลอดช่วงของยุคกลางในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ความนิยมที่จะใช้ในการอาบน้ำแร่เพื่อบำบัดโรคได้ กลับกลายมาเป็นที่นิยมขึ้นใหม่ในประเทศอังกฤษและเมืองใหญ่ๆ บางแห่ง


กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล

การอาบน้ำทะเลเพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การอาบน้ำทะเลในสมัยนั้น ผู้ที่อาบทั้งเสือ้ผ้า เพราะการถอดเสื้อผ้าว่ายน้ำขัดกับจารีตในสมัยนั้น การอาบน้ำทะเลเริ่มต้นขึ้นจากเหตุผลทางด้านสุขภาพ และความคิดที่ว่าการอาบน้ำทะเลจะทำให้สุขภาพดีนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับในตอนต้นศตววรษที่ 18
Thomas Cook ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการที่เป็นผู้ริเริ่มที่มีความสำคัญที่สุดต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระยะเริ่มแรก ในปี 1841 ขณะที่ Cook ยังเป็นเลขาธิการของ Midland Temperance Association เขาได้จัดทัวร์พาสมาชิกของสมาคม เดินทางจาก Leicester ไปยัง Loughborough
Thomas Cook เป็นนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยว ความสำเร็จในการดำเนินกิจการของเขาให้เป็นเพราะเขาพยายามที่จะลดปัญหาให้เหลือน้อยที่สุดในการจัดรายการท่องเที่ยว เขาจะมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับบรรดาโรงแรมรถไฟ และบริษัทส่งสินค้าทางเรือต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้ได้บริการต่อลูกค้าอย่างดีที่สุดและในราคาที่ถูกสำหรับบริการของเขส

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแต่งต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยาผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึง
เครือข่าย

ทฤษฏีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(hierarchy of needs)
2. ทฤษฏีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(travel career ladder)
3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(hidden agenda)
4. แรงจูงในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ swarbrooke

ในหนังสือเรื่องconsumer behavior in tourismของjohn swarbookeซึ่งตีพิมพ์ในปีค.ศ.1999swarbooke จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6ชนิด ด้วยกันที่แสดงอยู่ในแผนภูมิที่3แรงจูงใจเหล่านี้ได้แก่

1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ(physical)
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ควารู้สึกบางอย่าง
4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล

จากแนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจในทัศนะของนักวิชาการด้านแรงจูงใจทั้ง4คนที่ได้กล่าวมาแล้วสามารถสรุปได้ว่า ในการที่นักท่องเที่ยวจะเลือกแหล่งที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ได้เกิดจากแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่การตัดสินใจที่จะไปท่องเที่ยวมักจะเกิดจากแรงจูงใจหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันเช่น การที่คู่สมรสชาวฮ่องกงผู้หนึ่งตัดสินใจเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

Pearce Morrison และRutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้

1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่วแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่ได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย

นักเดินทางประเภทแบกเป้นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางลักษณะแบบนี้อาจจะสรุปได้เป็น 4 มิติด้วยกันดังต่อไปนี้
1. การหลีกหนี(escape)
2. การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่วแวดล้อม
3. การทำงาน(employment)
4. เน้นการคบหาสมาคม(social focus

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐานในอุคสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกสบายรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมได้แก่

1. ระบบไฟฟ้า
2. ระบบประปา
3. ระบบสือสารโทรคมนาคม
4. ระบบการขนส่งประกอบไปด้วย
4.1ระบบการเดินทางทางอากาศ
4.2ระบบการเดินทางทางบก
4.3ระบบการเดินทางทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค

การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไปจำทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ประกอบกับการที่มนุษย์มักต้องการเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่าง ๆ ที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างออกไปจากที่ตนเองอาศัยอยู่ ส่งผลให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่างๆบนผิวโลก จึงเห็นว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่ตนเองอาศัยอยู่

1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์

1.1ลักษณะ๓มิประเทศ


1)การเปลี่ยนแหลงจากภายในเปลือกโลก
2)การเปลี่ยนแหลงบริเวณผิวโลก

1.2ลักษณะภูมิอากาศ

2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม



วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Ahongthong Island

























เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยในท้องที่ตำบลอ่างทอง



อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี


ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 42 เกาะ ได้แก่


เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ


เกาะสามเส้า เกาะหินดับ เกาะนายพุดและเกาะท้ายเพลา ฯลฯ


สภาพของเกาะส่วนมากเป็นเขาหินปูนสูงชัน


หมู่เกาะอ่างทองขึ้นชื่อได้ว่ามีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่


สวยงามไม่ว่าจะเป็นจุดชมวิวบนยอดเขาของเกาะวัวตาหลับ


ที่สามารถชมทิวทัศน์ด้รอบทิศน์ถึง 360 องศา


หรือจะเป็นความงดงามของทะเลสีเขียวมรกตโอบล้อม



ด้วยขุนเขาที่ทะเลในเกาะแม่เกาะ ซึ่งเป็นไฮไลต์เด็ดๆ


ของที่นี่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างเดินทางมาเยี่ยมชม


เพื่อให้เห็นความงามนี้ด้วยตาตัวเองซักครั้ง










ยินดีต้อนรับนักชอบเดินทางเข้าสู่ Amazing Tour
โดย Angle


สำหรับผู้ที่ชอบเดินทางอนุรักษ์ธรรมชาติ
เราจะพาทุกท่านไปสัมผัสกับธรรมชาติ
ที่เหมาะกับการพักผ่อน รวมถึงเที่ยวชมความงดงาม
ของเกาะต่างๆรอบๆหมู่เกาะอ่างทอง




ซื้อแพ็คเกจทัวร์กับเราวันนี้ โปรโมชั่นพิเศษสุดๆ
แค่ 3,999 บาทเท่านั้น
แต่เรามีแพ็คเกจคู่สำหรับหนุ่มสาวที่ต้องการ




ฮัลนีมูน





แค่ 5,999 บาทเท่านั้น
ด่วน!แค่ 99 คู่ เท่านั้น






แพ็คเกจทัวร์ เกาะเต่า-เกาะนางยวน-หมู่เกาะอ่างทอง-สมุย 5 วัน 4 คืน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 42 เกาะ

ได้แก่ เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า

เกาะหินดับ เกาะนายพุด และเกาะท้ายเพลา ฯลฯ
สภาพของเกาะส่วนมากเป็นเขาหินปูนสูงชัน

มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ถึงจุดสูงสุดประมาณ 396 เมตร

วางเรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้

เป็นพื้นน้ำประมาณ

84 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ

82 เปอร์เซ็นต์

ของพื้นที่ทั้งหมด




กำหนดการเดินทาง


วันที่หนึ่ง กรุงเทพฯ-ชุมพร


20.00 เช็คตั๋วที่สถานีขนส่งสายใต้
20.30 ออกเดินทางสู่จังหวัดชุมพร


วันที่สอง ชุมพร-เกาะเต่า-เกาะนางยวน-สมุย

06.00 บริการอาหารเช้า ( 1 )
07.00 เรือออกเดินทางจากท่าเรือปากน้ำชุมพร เพื่อเดินทางไปยังเกาะเต่า
09.30 เรือเดินทางถึงเกาะเต่า เปลี่ยนเรือพร้อมกระเป๋าสัมภาระไปเรือ Day tour
10.00 เรือซีทรานออกเดินทางจากเกาะเต่าไปเกาะนางยวน

มีเรือหางยาวรับ-ส่ง เพื่อนำท่านไป ดำน้ำดูปะการังบนเกาะนางยวน

หาดทรายขาว ขึ้นจุดชมวิว viewpoint ที่แสนงดงาม
12.00 รับประทานอาหารกลางวันบนเรือแบบบุฟเฟ่ต์ ( 2 )
13.00 เรือนำท่านไปยังอ่าวกล้วยเถื่อนหรืออ่าวม่วง

ซึ่งเป็นจุดดำน้ำที่มีปลาและปะการังอันสวยงาม
15.00 เรือออกเดินทางจากท่าเรือแม่หาดมุ่งหน้าสู่เกาะสมุย
17.00 เรือเดินทางถึงเกาะสมุย รถรับท่านเดินทางสู่ที่พักโดยสวัสดิภาพ

และพักผ่อนตามอัธยาศัย หลังจากที่ท่านได้สนุกสนานจากการดำน้ำ
18.00 บริการอาหารเย็น(3) ณ โรงแรมที่พัก


วันที่สาม หมู่เกาะอ่างทอง
06.00 รับประทานอาหารเช้า

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองบริการชา กาแฟ ขนม ไว้บริการบนเรือ
09.50 เดินทางถึงเขตอุทยานหมู่เกาะอ่างทอง “ เกาะวัวตาหลับ”

ซึ่งเป็นที่ทำการอุทยาน ที่จุดนี้ท่านสามารถขึ้นจุดชมวิวบนยอดเขาของเกาะวัวตาหลับ

ท่านสามารถขึ้นจุดชมวิวบนยอดเขาของเกาะวัวตาหลับ ท่านสามารถมองเห็น

ภาพธรรมชาติอันงดงามของหมู่เกาะประมาณ 42 เกาะ

เรียงรายอยู่บนพื้นผิวท้องทะเลสีคราม หรือชมหินงอกหินย้อยในถ้ำบัวโบก

จากนั้นเชิญท่านสนุกสนานกับการว่ายน้ำอาบแดด บนหาดทรายขาวบริสุทธิ์
หรือดำน้ำดูปะการังบริเวณชายหาด
12.30 รับประทานอาหารกลางวันแบบ Buffet บนเรือ เป็นอาหารไทย พร้อมผลไม้(5)
13.30 ชมปิเล๊ะ หรือทะเลในหุบเขาที่งดงามที่สุดในประเทศไทย

ที่เกาะแม่เกาะ ทะเลสาบน้ำเค็มซึ่งเกิดจากการยุบตัวของภูเขาหินปูน

จากนั้นเชิญท่านสนุกสนานกับการว่ายน้ำ หรือดำน้ำดูปะการัง

ถึงเวลาอำลาหมู่เกาะอ่างทองด้วยความประทับใจ

ระหว่างทางมีบริการน้ำส้ม และขนม
17.00 ถึงท่าเทียบเรือหน้าทอน รถส่งท่านกลับเข้าที่พัก โดยสวัสดิภาพ
18.00 ( บริการอาหารเย็น 6 ) พักผ่อนตามอัธยาศัย


วันที่สี่ เกาะสมุย-ชุมพร
06.00 บริการอาหารเช้า ณ โรงแรม ( 7 ) พักผ่อนตามอัธยาศัย
11.30 เตรียมเช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรม
12.00 รถรับท่านจากโรงแรมที่พัก เพื่อนำท่านไปรับประทานอาหารกลางวัน(8)
จากนั้นนำท่านไปสักการะหลวงพ่อแดงไม่เน่าไม่เปื่อย

และไปชมหินมหัศจรรย์กับหินตาหินยาย
ซึ่งเกิดขึ้นมาจากธรรมชาติพร้อมพาไปจุดชมวิวและนมัสการไหว้พระใหญ่

ที่นักท่องเที่ยวต้องมาสักการะ บูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
16.00 จากนั้นรถนำท่านส่งกลับที่ท่าเรือหน้าทอน(เคาน์เตอร์บขส)

เพื่อนั่งรถกลับบขส จากสมุยกลับกรุงเทพ
17.00 ขึ้นเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือหน้าทอน(สมุย) เพื่อเดินทางถึงสุราษฎร์(ดอนสัก)
13.30 เรือเฟอร์รี่เดินทางถึงสุราษฎร์(ท่าเรือดอนสัก)

พร้อมขึ้นรถโค้ชกลับกรุงเทพ พร้อมบริการอาหารเย็น(9)
18.30 เรือเดินทางถึงท่าเรือปากน้ำชุมพร พร้อม บริการอาหารเย็น ( 9 )
20.30 ออกรถโค้ชปรับอากาศออกเดินทาง เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพ


วันที่ห้า ชุมพร-กรุงเทพฯ
05.00 เดินทางถึงกรุงเทพ โดยสวัสดิภาพโดยความประทับใจออกบริการทุกวัน
(ราคานี้เดินทางตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป)

อัตราค่าบริการนี้รวม :
ขาไปรถและเรือซีทรานกรุงเทพ – เกาะสมุย ( รถโค้ชซีทรานชั้นครึ่ง 34 ที่นั่ง)
ขากลับ รถโค้ชปรับอากาศ vip 24 ที่นั่ง
โรงแรมที่พักบนเกาะสมุย 2 คืน , นอนบนรถ 2 คืน
โปรแกรม เดย์ทัวร์ เกาะเต่า – เกาะนางยวน
โปรแกรม หมู่เกาะอ่างทอง
โปรแกรม ซิตี้ทัวร์ เกาะสมุย ตามโปรแกรม
อาหาร และเครื่องดื่มตามโปรแกรม 9 มื้อ ตามโปรแกรม
อุปกรณ์ดำน้ำและเสื้อชูชีพ
อัตราค่าบริการนี้ไม่รวม :
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3 % ( กรณีออกบิล)
ไม่รวมเรือคยัคท่านละ 300 บาท ,

ค่าธรรมเนียมชาวต่างชาติท่านละ 200 บาท , ค่าใช้จ่ายส่วนตัว


หมายเหตุ
บริษัท ขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงรายการตามความเหมาะสมทั้งนี้ยังคงจะรักษา

มาตรฐานการบริการและยึดถือผลประโยชน์ของผู้เดินทางเป็นสำคัญ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฟ้าสวย ทะเลใส เช้าวันใหม่ ที่เกาะพยาม

ท้องฟ้าแสนสวย น้ำทะเลแสนใส กับเช้าวันใหม่
ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง